Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  มีนาคม  2559
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันอังพุธ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันพฤหัสบดี  เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม  ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง  โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาวภัสสร  ศรีพวาทกุล : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  แผนการจัดประสบการณ์การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้   ควรเขียนอธิบายการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าโดยการเขียนสรุปสั้นๆ  ในการผสมผสานการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า  ควรใช้ถุงมือ หรือน้ำช้อนมาตักไม่ควรใช้มือเปล่า  อาจเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่ครูทุกคนไม่ควรมองข้าม  ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการตักส่วนผสมใส่ถุงในก้อนเชื้อก็ได้  แผ่นชาร์ตประกอบครูควรวาดภาพประกอบขั้นตอนวิธีการทำด้วย  เพื่อให้เด็กมีส่วนรวม  วีดีโอที่นำมาให้เด็กดูนั้นควรเป็นวีดีโอที่ชัดและเสียงดังกว่านี้เด็กจะไม่เข้าใจเพราะเสียงมันไม่ค่อยดัง
(สอนโดย : นาวสาวสุนิสา  บุดดาราม : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน  ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างเด็กจะงงและจำไม่ได้  ถ้าครูสั่งให้เด็กกระโดดแล้วไม่ควรให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก  ในการจับกลุ่มเคลื่อนไหวประกอบเพลงครูควรใช้วิธีการจับกลุ่มที่มีความหลากหลาย  นอกเหนือจากการให้เด็กนับ 1-3 เช่น  ครูอาจจะใช้สื่อเข้าในการจับกลุ่มเพื่อให้การจับกลุ่มนั้นเกิดความสะดวกขึ้น  อาจให้เด็กที่มีแผ่นสีที่เหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน  หรือว่าคนที่มีรูปเหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน  จับกลุ่มโดยการช้าสัญลักษณ์  ภาพเรขาคณิต  หรือครูอาจใช้คำพูดในการจับกลุ่มของเด็กๆก็ได้  เช่น  นก 5 ตัว  เด็กก็จะจับกลุ่มตามจำนวนของนก

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี  สมศรี : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูควรใช้หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอน  การนำเสนอประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามแผนที่ครูเขียนไว้ให้แยกประเภทของผักให้ชัดเจน  ผักกินดอก  ผักกินใบ
(สอนโดย : นาวสาวอินธุอร  ศรีบุญชัย : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูเล่านิทานหนูหน่อยปวดท้อง  เพราะไม่กินผัก  ครูควรเล่าถึงอาการของหนูหน่อยก่อน  เกิดอาการปวดท้อง  หนูหน่อยท้องผูก  เนื่องจากไม่มีกากใยอาหาร  ไม่กินผักแล้วท้องผูก  ครูควรใช้คำถาม  เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อย่างไรค่ะ”  อาจมีอาชีพ  คนขายผัก  คนปลูกผัก  โรงงาน  ชาวสวน  ครูอาจทำถุงมือประกอบการเล่นนิทาน  ส่วนการเล่นนิทานครูนำสื่อเสียบไม้มาเล่ามากกว่าที่จะใช้สื่อที่ทำจากถุงมือ  เพราะสื่อการเล่นนิทานที่ทำจากถุงมือนั้นมีขนาดเล็กเด็กไม่สามารถเห็นได้ทุกคน

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอรุณี  พระนรินทร์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์สอนซ้ำในเรื่องของประเภทยานพาหนะ  ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็นการจัดประเภทของการใช้พลังงานของยานพาหนะ  สอนไม่ตรงสาระการเรียนรู้ในแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ปริศนาคำทายนั้นควรใช้กับวันที่ 2  ครูควรเน้นการสอนที่พลังงานการขับเคลื่อนของยานพาหนะประเภทต่างๆ  มากกว่าการดูแลรักษาครูต้องศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี  เตรียมความพร้อมก่อนการสอน  วางแผนก่อนสอน
(สอนโดย : นาวสาวประภัสสร  หนูสิริ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  ครูควรใช้คำพูดที่มีความหลากหลาย  สคริปต์  เป็นก้าวชิดกก้าวแทน  หรือท่าควบม้า  ให้เกิดความหลากหลายในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นาวสาวณัฐชยา  ตะคุณนะ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูผู้สอนไม่มาเรียนจึงไม่ได้สอบสอน
(สอนโดย : นาวสาวสุธิดารัตน์  เกิดบุญมี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ  การบรรยายเรื่องราว  ควรให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้  การสอนในวันนี้สอนไม่ตรงกับแผนที่เขียนไวในแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นายวริมตร  สุภาพ  : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์วันนี้ไม่มีข้อเสนอแนะผ่าน
(สอนโดย : นาวสาวดวงกมล  คันตะลี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวครูต้องบอกว่าผีเสื้อกัดกินใบไม้ทำให้เสียหาย  ไม่ถึงกับการทำลายธรรมชาติ  แต่อาจทำให้พืชผักเสียหายและจะทำให้พืชผักราคาลดลงลงในท้องตลาดได้

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเสร้มประสบการณ์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ถูกต้องและถูกวิธี  การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน

ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น