บันทึกอนุทิน
วันที่ 23 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 14.30
– 17.30 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันอังพุธ-วันพฤหัสบดี อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มไหนสอบสอนก่อนก็ได้ เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม
ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมพื้นฐาน
การกระโดดให้เด็กกระโดดโดยการเปลี่ยนระดับการกระโดดเช่น สูง
ต่ำ
การเดินอาจให้เด็กเดินในหลายๆวิธีอาจเป็นการเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา การเคาะจังหวะให้ครูพูดชื่อเห็ดก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะเรื่อยๆไม่ต้องงหยุด แล้วครูค่อยทำการเปลี่ยนคำสั่งใหม่
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ก็ให้เด็กได้ทำในทุกๆวันง่ายๆ
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ แผนที่เขียนในตรงสาระที่ควรเรียนรู้ คือ
ต้องเขียนถึงประโยชน์ของเห็ด
ว่าเห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูอาจให้เด็กกระโดดขาเดียวหรือของขาก็ได้ เด็กบางคนอยากจะกระโดดขาเดียว เด็กบางคนอยากจะกระโดดสองขาสลับกันก็ได้
เปลี่ยนการเคลื่อนไหวหลายๆแบบที่ทำให้เด็กสนุกสนาน
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายผักที่กินหัว คือ
แครอท ทำให้ผิวเรียบเนียน มีเนื้อแน่น
ครูอาจให้เด็กได้ดีดหรือจับ สัมผัส
ว่าเนื้อแน่น
ผิวเนียนหรือไม่ให้เด็กได้สัมผัสจากของจริง ผักที่กินผล
คือ ฟักทอง เนื้อแน่น
ผิวไม่ย่น ครูอาจจะให้เด็กใช้นิ้วดีดที่ลูกฟักทอง เพื่อเป็นการทดสอบว่าฟักทองเนื้อแน่นจริงไหม โดยการบรรยายให้เด็กได้แสดงท่าทางตามจินตนาการตั้งแต่ไปตลาดจนการเลือกซื้อผักให้เขาได้สัมผัส
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูบรรยายให้เด็กเก็บผักสวนครัวนั้นให้เด็กได้แสดงท่าทางตามคำบรรยายตามจินตนาการของตนเองตั้งแต่เริ่มต้นการบรรยาย
ครูให้เด็กถือตะกร้าใส่ผักเด็กต้องทำท่าถือตะกร้าเด็กอาจจะทำท่าทางแตกต่างกันก็ได้
ครูพาเด็กเก็บผักโดยการให้เด็กได้นับจำวนต้นผัก 10
ต้น
การให้เด็กเก็บผักไม่ควรให้เด็กยืนเก็บผักครูต้องใส่ลงในคำบรรยายไว้ด้วยว่าเด็กๆนั่งลงเก็บผักทีละต้น แล้วให้เด็กนับไปด้วย 1-10 ต้น
เมื่อครบแล้วให้เด็กใส่ตะกร้าแล้วค่อยบรรยายให้เด็กเก็บผักอย่าอื่นจนครบ
เวลาที่เด็กเก็บผักครูต้องให้เด็กนั่งลงก่อนค่อยเก็บผักเด็กจะได้ไม่เมื่อย ไม่ปวดหลัง
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน
เช่น ซ้าย ขวา
หน้า หลัง ครูอาจเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวเป็นการเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า
ด้านข้างของเท้า
หรือด้านในของเท้าก็ได้ หลังจากเคาะจังหวะแล้วค่อยสั่ง ครูต้องให้เด็กรู้จักการระมัดระวังตัวเองในการเคลื่อนไหว ไม่ชนกับเพื่อนในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหว
สาระที่ควรเรียนรู้
คือ
ต้องอธิบายเกี่ยวกับพลังงานของยานพาหนะแต่ละชนิดมีการขับเคลื่อนด้วยอะไร เช่น
รถยนต์ใช้น้ำมัน เรือใช้น้ำมัน
จักรยานใช้พลังงานกลในการปั่นเพื่อให้รถวิ่งได้ เรือใบใช้แรงลมในการเคลื่อนที่ เป็นต้น
(สอนโดย : นาวสาวธนาภรณ์ ใจกล้า
: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐานควรที่จะมีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย เช่น
การเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า ด้านข้างของเท้า ด้านในของเท้า
การสคริปต์ หรือเป็นการควบม้าก็ได้
ตอนที่ครูบรรยายไม่ต้องเคาะจังหวะ จะต้องเคาะเป็นช่วงๆเท่านั้นในการบรรยายการล้างรถ
ให้คิดไว้เสมอว่าขั้นตอนการล้างรถต้องทำให้ถูกวิธีถูกขั้นตอนทุกอย่าง ไม่ได้มาจากความคิดของตนเอง
ขั้นตอนการล้างรถจะเป็นการสอนเด็กว่าเด็กจะทำอะไรก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย ครูต้องมีความรู้ในเรื่องของการล้างรถที่ถูกวิธี การที่จะสอนให้เด็กล้างรถครูอย่าคิดที่จะสอนตามความคิดของตนเองต้องสอนมาจากความเป็นจริง
ก่อนสอนครูต้องค้นคว้าหาความรู้ก่อนว่าวิธีการล้างรถต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้สอนเด็กไปในทางที่ถูกต้อง
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรเคาะจังหวะพื้นฐาน 2 ครั้งแล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่ง เช่น
ให้เด็กแปลงกายเป็นไข่ผีเสื้อ
หนอนผีเสื้อ ดักแด้ ผีเสื้อ
ขณะที่แปลงการนั้นครูควรให้เวลาเด็กได้ทำท่าทางตามจินตนาการก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะกิจกรรมพื้นฐานอีกครั้ง
แล้วทำการสั่งคำสั่งเมื่อทำครบทุกอย่างแล้วค่อยเข้าที่กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ให้แก้ไขที่สาระที่ควรเรียนรู้ คือ
ผีเสื้อช่วยในการผสมเกสรดอกไม้
ช่วยในการขยายพันธุ์พืช
ช่วยสร้างระบบนิเวศให้สมดุล และการเปลี่ยนแปลงของผีเสื้อ
หน่วยส้ม (สอนโดย : นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการที่ครูให้เด็กหาบริเวณและพื้นที่ให้กับตัวเองโดยไม่ชนกับเพื่อน ครูไม่ต้องทำการเคาะจังหวะใดๆทั้งสิ้น ให้ครูบอกไปเลยไม่ต้องทำการเคาะ
ไม่ต้องพูดว่าให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ เช่น
เดินตามจังหวะที่ครูเคาะนะค่ะ ครูสามารถสั่งให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย ครูมีการบรรยายข้ามขั้นตอน เด็กขึ้นรถไฟเด็กยังไม่ลงจากรถไฟแต่เด็กเก็บส้มแล้วผิด ครูต้องบรรยายให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นจริง เช่น
ครูพาเด็กขึ้นรถไฟไปสวนส้ม เมื่อถึงสวนส้มรถไฟก็หยุด ครูพาเด็กๆลงจากรถไฟ “เด็กๆลงจากรถไฟค่ะ” แล้วเราก็มาถึงสวยส้มแล้ว
เด็กๆเก็บส้มใส่ตะกร้า
เก็บส้มสูงๆๆๆ ต่ำๆๆๆๆ
ให้เด็กได้เคลื่อนไหวในระดับที่แตกต่างกัน
แต่ไม่ต้องเคาะจังหวะ
กิจกรรมนี้ไม่ต้องถามเด็กว่าส้มมีประโยชน์อะไรบ้าง เพราะกิจกรรมนี้ไม่ได้อยู่ในการบรรยายของครู ควรเป็นการให้เด็กเก็บส้มไปขาย หรือคั้นน้ำส้มขาย เพราะว่าน้ำส้มมีประโยชน์ มีวิตามินซี
ช่วยไม่ให้เป็นหวัด
ไม่ท้องผูก ให้ครูอธิบายประโยชน์ของส้ม ควรบรรยายตามที่ครูเขียนไว้ ควรทำการเปลี่ยนแปลงในการเก็บส้ม
(สอนโดย : นาวสาวสกาวเดือน สอิ้งทอง: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง ครูต้องใช้คำสั่งทีละอย่าง เช่น
ส้มจีนกระโดด
แล้วครูทำการให้เด็กทบทวนส้มจีนกระโดด
แล้วให้เด็กกระโดด
กิจกรรมพื้นฐาน
> การเคาะจังหวะไม่ชัดเจน
และไม่ถูกต้อง ต้องให้เด็กเดินตามจังหวะที่ครูเคาะ เคาะช้า
เร็ว เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที
กิจกรรมพื้นฐานอาจจะให้เด็กเดินด้วยปลายเท้า เดินด้วยส้มเท้า ให้เด็กได้เดินด้วยวิธีที่หลากหลาย การเคาะให้เคาะให้ชัดเจน ให้เคาะพอดีๆ
ไม่ต้องเคาะแรง
สั่งคำสั่งให้ชัดเจน
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
>
ให้เชื่อโยงกิจกรรมพื้นฐานเข้ามาโดย เคาะช้า
เร็ว เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที
แล้วครูค่อยให้คำสั่งเด็กว่าส้มจีนให้เด็กกระโดด ส้มเขียวหวานให้เด็กทำท่าบิน หลังจากนั้นค่อยเคาะเข้าเชื่อมโยงกิจกรรมพื้นฐาน
แล้วค่อยสั่งคำสั่งเด็กใหม่หมุนเวียนไปเรื่อยๆจนครบทุกฐาน แล้วค่อยเข้าผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
> ครูอาจให้เด็กนั่ง นอน นอนปั่นจักรยาน หรือสลับกันนวดก็ได้
หน่วยกล้วย (สอนโดย : นางสาวกัญญารัตน์ หนองหงอก : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูควรเปลี่ยนคำพูดในการเคาะจังหวะ แล้วให้เด็กหมุนส่วนต่างๆของร่างกาย เด็กอาจจะหมุนคอ หมุนไหล่แล้วแต่เด็ก กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ ไม่ควรทำคำบรรยายติดกัน 2 คำ เพราะจะทำให้เด็กงง และน่าเบื่อ
อาจจะให้เด็กแปลงกายเป็นแม่ค้าขายกล้วยทอด
เป็นชาวสวนกล้วย
คนขับรถบรรทุกกล้วย ให้เด็กได้ทำตามคำสั่งในสิ่งที่ครูสั่ง ให้เด็กทำตามคำสั่ง ไม่ต้องมีการบรรยาย และเวลาครูสั่งคำสั่งให้ครูพูดให้เด็กฟัง แล้วค่อยให้เด็กทำตามคำสั่งแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นคำสั่งใหม่ทันที ครูต้องเคาะจังหวะให้ชัดเจน และให้เด็กฝึกการฟังคำสั่งของครู เคาะหยุดแล้วให้เด็กฟังคำสั่ง ครูต้องฝึกให้เด็กฟังคำสั่ง และตั้งใจฟังคำสั่งของคุณครูนะค่ะ ถึงเด็กจะทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง
เป็นการฝึกให้เด็กฟังครูทีละสเต็ปของการฟังคำสั่งของครู ครูต้องใส่ใจในเนื้อหารของการสอนในแต่ละกิจกรรม วิธีการเลือกซื้อหรือประโยชน์ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการเลือกซื้อกล้วยที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
(สอนโดย : นาวสาวณัฐชญา ตะคุณนะ: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูต้องหาวิธีการเลือกซื้อกล้วย ค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม การบรรยายของครูไม่เจาะลึกลงไปที่วิธีการเลือกซื้อกล้วย และสาระที่ควรเรียนรู้ที่จะต้องทำการแก้ไข คือ การเลือกซื้อกล้วยควรมีการเลือกซื้อในลักษณะอย่างไร แล้วให้อธิบายลงไปในแผนให้ละเอียด
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ถูกต้องและถูกวิธี การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์
และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์
มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา อาจารย์สอนดีมาก อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น