Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  มีนาคม  2559
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันจันทร์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันอังคาร  อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มไหนสอบสอนก่อนก็ได้ไม่ต้อง  กลุ่มในพร้อมให้ออกมาสอบสอนก่อนเลย  เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม  ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง  โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วยส้ม  (สอนโดย : นาวสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การเขียนแผนของเพื่อนกลุ่มส้มใช้ดินสอเขียนแผนควรใช้ปากกาในการเขียนแผน  ไม่ควรใช้ดินสอในการเขียนแผน  ที่มาของแผนการจัดประสบการณ์ก็ไม่มี  เว็บใยแมงมุมแสดงประสบการณ์ที่จะสอนเด็กก็ไม่มี
(สอนโดย : นาวสาวนฤมล  เส้งเซ่ง : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  เพื่อสอยกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่ตรงกับแผนที่เขียนมา  กิจกรรมพื้นฐานก็ไม่มี  เพื่อนมีความตื่นเต้นในการสอน  พูดไม่เป็นธรรมชาติ  สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็คือ 
กิจกรรมพื้นฐาน > การเคาะจังหวะไม่ชัดเจน  และไม่ถูกต้อง  ต้องให้เด็กเดินตามจังหวะที่ครูเคาะ  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  กิจกรรมพื้นฐานอาจจะให้เด็กทำท่าควบม้า  เดินด้วยปลายเท้า  เดินด้วยส้มเท้า  ให้เด็กได้เดินด้วยวิธีที่หลากหลายเด็กจะไม่เกิดอาการเบื่อหน่าย
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา > ให้เชื่อโยงกิจกรรมพื้นฐานเข้ามาโดย  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  แล้วครูค่อยให้คำสั่งเด็กว่ามุมนี้เป็นส้มอะไร  มุมนี้เป็นส้มอะไร  หลังจากนั้นค่อยเคาะเข้าเชื่อมโยงกิจกรรมพื้นฐาน  แล้วค่อยสั่งคำสั่งเด็กใหม่หมุนเวียนไปเรื่อยๆจนครบทุกฐาน  แล้วค่อยเข้าผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ > สามารถใช้ได้หลายรูปแบบอาจจะให้เด็กนั่งเป็นแถวแล้วค่อยผลัดกันนวด  โดยการนวดสลับกัน

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นาวสาวกัตติกา  สะบานงา : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)


        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดในแผ่นชาร์ตได้  ครูควรใช้ปากกาสีน้ำเงินให้เด็กสามารถมองเห็นตัวหนังสือได้  และให้ใช้ปากกาสีอื่นให้แตกต่างกันเพื่อให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของคำ  ครูไม่ควรเอาชนิดของผีเสื้อมาเยอะ  เพราะเด็กจะจำชนิดของผีเสื้อได้หมด  ควรนำมาแค่ 3 ชนิดพอ  การติดรูปการแยกประเภทของผีเสื้อต้องติดจากทางซ้ายไปขวามือเด็กเสมอ  ครูใช้คำถาม  ผีเสื้อกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน”  หลังจากนั้นหาเด็กออกมาทีช่วยจับคู่ 1:1  ไหนคนเก่งของครูออกมาหยิบผีเสื้อกระท้อนหนึ่ง  และไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนหนึ่ง”  หลังจากนั้นถามเด็กโดยถาม  แสดงว่าไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนมีมากกว่าผีเสื้อกระท้อน
(สอนโดย : นาวสาวสิโรธร  ละอองเอก : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย  ไม่ต้องใช้แผ่นชาร์ตเพลง  เพลงที่ใช้ในกิจกรรมควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว  ครูต้องร้องเพลงพร้อมกับเด็กก่อน  แล้วค่อยให้จังหวะเพลงกับเด็ก  โดยครูแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม
        กลุ่มที่ 1 เต้น  กลุ่มที่ 2 ร้องเพลง > กลุ่มที่ 3  ปรบมือ  > กลุ่มที่ 4  เครื่องเคาะจังหวะ  ให้ทำกิจกรรมหมุนเวียนสลับกันจบครบทุกกิจกรรม  โดยการวนจากซ้ายไปขวา  และกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ต้องใช้เวลานานมาก  แต่เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกวัน 

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวนิศากร  บัวกลาง : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเขียนแผนประเภทของผักต้องเขียนให้ชัดเจน
ผักกินใบ  คะน้า  กวางตุ้ง  กะหล่ำ  ฯลฯ
ผักกินดอก  >  ดอกกะหล่ำ บร็อกโคลี่  ฯลฯ
ผักกินหัว  >  เผือก  แครอท  หัวไช้เท้า  มันเทศ  หอมหัวใหญ่  ฯลฯ
ผักกินผล  ฟักทอง  มะเขือเทศ  พริก  มะระ  ฯลฯ
ต้องทำตารางและเขียนให้ชัดเจน  พอครูถามว่า เด็กๆผักอะไรกินใบค่ะ”  ครูเขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในแผ่นชาร์ต  ถ้าเป็นไปได้ครูควรเอาผักของจริงให้เด็กได้เห็น  ได้สัมผัส
(สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี  สมศรี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่ต้องใช้ชาร์ตเพลง  เคาะจังหวะให้ชัดเจน  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะควรให้เด็กได้เดินที่หลากหลาย  เดินด้วยปลายเท้า  ส้นเท้า  ด้านข้างของเท้า  ด้านในของเท้า  หรือจะเป็นท่าควบม้าปรับเปลี่ยนหลายๆวิธีเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อหน่าย  หลังจากที่ครูทบทวนการร้องเพลงแล้ว  ครูเรียกเด็กออกมา 1 คน  ทำท่าทางประกอบเพลงนำเพื่อน  เพื่อให้เด็กทำท่าทางตามจินตนาการในท่าทางใหม่ๆที่แตกต่างกัน  ผลัดกันสัก 3-4 คน  ไม่ต้องให้เด็กออกมาแสดงท่าทางทุกคนเลือกออกมา 3-4 คนหมุนเวียนกันไป  แล้วค่อยเข้าด้วยกิจกรรมสุดท้ายกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอารียา  เอี่ยมโพธิ์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)


        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูต้องให้เกณฑ์ที่ชัดเจนในประเภทของยานพาหนะ  เช่น  ยานพาหนะทางบก  > รถยนต์  รถไฟ  จักยานยนต์
        ยานพาหนะทางน้ำ  เรือ  เรือยอร์ช
        ยานพาหนะทางอากาศ  เครื่องบิน  เฮรี่คอปเตอร์
การแยกประเภทของยานพาหนะต้องให้เด็กเห็นได้สื่อชัดเจนต้อง  แล้วให้เด็กเห็นที่วางสื่อในการแยกประเภทของยานพาหนะได้ทุกคน  ให้เด็กออกมาแยกประเภทของยานพาหนะทีละคนจนหมด  แล้วค่อยให้เด็กนำรูปภาพยานพาหนะที่เด็กแยกไปติดที่แผ่นชาร์ตกราฟแสดงจำนวน  แล้วค่อยทำการสรุปผล
(สอนโดย : นาวสาวกมลมาศ  จันทร์ไพศรี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของกลุ่มยานพาหนะต้องเคาะให้ชัดเจน  กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย  เมื่อครูบรรยายเสร็จให้ครูทำการเคาะให้เด็กได้หยุดอยู่กับที่ด้วย  เช่น  เด็กๆจอดจักรยานไว้บนถนนแล้วค่อยลงไปที่ชายหาด  ขณะที่ครูพูดนั้นครูต้องเคาะให้เด็กได้หยุดในจังหวะหยุด  เพราะว่าถ้าเราเคาะไปเรื่อยแล้วค่อยหยุดอาจทำให้เด็กเกิดอาการงงได้

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นาวสาวเนตรนภา  ไชยแดง : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์แผ่นชาร์ตเพลงภาพกล้วยไม่ควรเป็นสีสะท้อนแสงเพราะจะทำให้เด็กเสียสายตา  และการบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนของกล้วยไม่ควรนำภาพมาทั้งหวีให้เด็กนับต้องนำภาพมาเป็นลูกๆ  เพราะจะทำให้เด็กนับไม่ได้  ควรจะเอาของจริงมาสอน  ให้เด็กได้นับ  แยกประเภท  สัมผัส  ชิมรส  และลักษณะต่างๆของกล้วยเด็กจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้มากขึ้น  ถ้าเอาภาพมาทั้งหวีเด็กก็นับไมได้เลย
(สอนโดย : นาวสาวอริสา ยุนุห์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูควรเคาะจังหวะให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความไม่เข้าใจในจังหวะที่ครูเคาะ  เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว  ครูต้องเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุดด้วยเด็กจะได้เข้าใจว่าเสียงเคาะ ครั้งติดต่อกันหมายถึง  หยุดอยู่ในท่านั้นทันที

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาววรรวิภา  โพธิ์งาม : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูต้องทำที่วางแผ่นภาพและตัวเลขให้อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ทำให้เด็กสามารถมองเห็นได้ทุกคน  เช่น  เห็ดให้อยู่บ้างบนโดยใช้ไม้ยาว  ส่วนตัวเลขให้ใช้ไม้สั้นเพื่อให้เด็กได้เห็นชัดเจน  แผ่นชาร์ตต้องติดใส่ฟิวเจอร์บอร์ตรองด้านหลังเพื่อให้มันดูเรียบร้อย และแข็งแรง  การสอนการจัดประสบการณ์ต้องสอนให้เป็นไปตามลำดับเมื่อพาเด็กร้องเพลงเสร็จให้ใช้คำถามปลายเปิด  เด็กๆค่ะในเพลงที่เด็กร้องเขาพูดถึงเห็ดอะไรบ้างค่ะ”  ครูทำการจดบันทึกคำพูดของเด็กที่เด็กพูดลงในแผ่นชาร์ต  หลังจากนั้น
        ครูนำรูปเห็นที่เสียบไม้ไว้ในกล่องแล้วคลุมด้วยผ้าขาว  เด็กๆทายซิค่ะใต้ผ้าผืนนี้มีอะไรค่ะ”  ครูค่อยเฉลย  กล่องที่นำมาใส่รูปเห็นไม่ควรปิดจนเด็กมองไม่เห็น  ควรใส่ตะกร้าหรืออะไรก็ได้ที่เด็กสามารถมองเห็นได้  หลังจากนั้นค่อยถามเด็ก  เด็กๆค่ะในกล่องนี้มีเห็นกี่อันค่ะ”  เดี่ยวเรามาพิสูจน์กัน  ครูเอาออกมาที่ละอันแล้วปักลงบนแผงไข่ให้เด็กนับทีละชิ้นจนหมดแล้วค่อยให้เด็กนำตัวเลขแทนค่าจำนวนของเห็ดทั้งหมด  หลังจากนั้นทำการแยกประเภทของเห็ดต้องเรียงจากทางซ้ายไปขวามือเด็กเสมอ  ครูใช้คำถาม  เห็ดกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน”  หลังจากนั้นหาเด็กออกมาทีช่วยจับคู่ 1:1  ไหนคนเก่งของครูออกมาหยิบเห็ดเข็มทองหนึ่ง  และไม่ใช่เห็ดเข็มทองหนึ่ง”  หลังจากนั้นก็สรุป  แสดงว่าไม่ใช่เห็ดเข็มทองมีมากกว่าเห็ดเข็มทอง
(สอนโดย : นาวสาวพิชากร  แก้วน้อย : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องมีการให้เด็กได้เปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน  เพื่อให้เด็กได้เปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเจ

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างถูกต้องตามลำกับ  และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ  และสามารถคิด  วิเคราะห์ได้  จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุดเพื่อให้เด็กสามารถคิด  วิเคราะห์ได้ในการเรียนระดับชั้นต่อไป

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-

การประเมินในชั้นเรียน

ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นพฤติกรรมที่เพื่อต้องปรับปรุงมากที่สุด  การที่มีผู้พูดจะต้องมีผู้ฟังที่ดีด้วย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  ทุกคำพูดที่ใช้มีความสำคัญทุกคำถามที่ถามเด็กเกิดการเรียนรู้  การพูดของอาจารย์เป็นการสอนที่มีค่าสำหรับนักศึกษาในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น