Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  มีนาคม  2559
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันอังพุธ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันพฤหัสบดี  เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม  ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง  โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาวภัสสร  ศรีพวาทกุล : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  แผนการจัดประสบการณ์การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้   ควรเขียนอธิบายการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าโดยการเขียนสรุปสั้นๆ  ในการผสมผสานการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า  ควรใช้ถุงมือ หรือน้ำช้อนมาตักไม่ควรใช้มือเปล่า  อาจเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่ครูทุกคนไม่ควรมองข้าม  ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการตักส่วนผสมใส่ถุงในก้อนเชื้อก็ได้  แผ่นชาร์ตประกอบครูควรวาดภาพประกอบขั้นตอนวิธีการทำด้วย  เพื่อให้เด็กมีส่วนรวม  วีดีโอที่นำมาให้เด็กดูนั้นควรเป็นวีดีโอที่ชัดและเสียงดังกว่านี้เด็กจะไม่เข้าใจเพราะเสียงมันไม่ค่อยดัง
(สอนโดย : นาวสาวสุนิสา  บุดดาราม : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน  ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างเด็กจะงงและจำไม่ได้  ถ้าครูสั่งให้เด็กกระโดดแล้วไม่ควรให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก  ในการจับกลุ่มเคลื่อนไหวประกอบเพลงครูควรใช้วิธีการจับกลุ่มที่มีความหลากหลาย  นอกเหนือจากการให้เด็กนับ 1-3 เช่น  ครูอาจจะใช้สื่อเข้าในการจับกลุ่มเพื่อให้การจับกลุ่มนั้นเกิดความสะดวกขึ้น  อาจให้เด็กที่มีแผ่นสีที่เหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน  หรือว่าคนที่มีรูปเหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน  จับกลุ่มโดยการช้าสัญลักษณ์  ภาพเรขาคณิต  หรือครูอาจใช้คำพูดในการจับกลุ่มของเด็กๆก็ได้  เช่น  นก 5 ตัว  เด็กก็จะจับกลุ่มตามจำนวนของนก

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี  สมศรี : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูควรใช้หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอน  การนำเสนอประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามแผนที่ครูเขียนไว้ให้แยกประเภทของผักให้ชัดเจน  ผักกินดอก  ผักกินใบ
(สอนโดย : นาวสาวอินธุอร  ศรีบุญชัย : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูเล่านิทานหนูหน่อยปวดท้อง  เพราะไม่กินผัก  ครูควรเล่าถึงอาการของหนูหน่อยก่อน  เกิดอาการปวดท้อง  หนูหน่อยท้องผูก  เนื่องจากไม่มีกากใยอาหาร  ไม่กินผักแล้วท้องผูก  ครูควรใช้คำถาม  เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อย่างไรค่ะ”  อาจมีอาชีพ  คนขายผัก  คนปลูกผัก  โรงงาน  ชาวสวน  ครูอาจทำถุงมือประกอบการเล่นนิทาน  ส่วนการเล่นนิทานครูนำสื่อเสียบไม้มาเล่ามากกว่าที่จะใช้สื่อที่ทำจากถุงมือ  เพราะสื่อการเล่นนิทานที่ทำจากถุงมือนั้นมีขนาดเล็กเด็กไม่สามารถเห็นได้ทุกคน

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอรุณี  พระนรินทร์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์สอนซ้ำในเรื่องของประเภทยานพาหนะ  ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็นการจัดประเภทของการใช้พลังงานของยานพาหนะ  สอนไม่ตรงสาระการเรียนรู้ในแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ปริศนาคำทายนั้นควรใช้กับวันที่ 2  ครูควรเน้นการสอนที่พลังงานการขับเคลื่อนของยานพาหนะประเภทต่างๆ  มากกว่าการดูแลรักษาครูต้องศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี  เตรียมความพร้อมก่อนการสอน  วางแผนก่อนสอน
(สอนโดย : นาวสาวประภัสสร  หนูสิริ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน  ครูควรใช้คำพูดที่มีความหลากหลาย  สคริปต์  เป็นก้าวชิดกก้าวแทน  หรือท่าควบม้า  ให้เกิดความหลากหลายในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นาวสาวณัฐชยา  ตะคุณนะ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูผู้สอนไม่มาเรียนจึงไม่ได้สอบสอน
(สอนโดย : นาวสาวสุธิดารัตน์  เกิดบุญมี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ  การบรรยายเรื่องราว  ควรให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้  การสอนในวันนี้สอนไม่ตรงกับแผนที่เขียนไวในแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นายวริมตร  สุภาพ  : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

       การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์วันนี้ไม่มีข้อเสนอแนะผ่าน
(สอนโดย : นาวสาวดวงกมล  คันตะลี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวครูต้องบอกว่าผีเสื้อกัดกินใบไม้ทำให้เสียหาย  ไม่ถึงกับการทำลายธรรมชาติ  แต่อาจทำให้พืชผักเสียหายและจะทำให้พืชผักราคาลดลงลงในท้องตลาดได้

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการ  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเสร้มประสบการณ์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ถูกต้องและถูกวิธี  การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน

ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่  23  มีนาคม  2559
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของวันอังพุธ-วันพฤหัสบดี  อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มไหนสอบสอนก่อนก็ได้  เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม  ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง  โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาวภัสสร  ศรีพวาทกุล : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมพื้นฐาน  การกระโดดให้เด็กกระโดดโดยการเปลี่ยนระดับการกระโดดเช่น  สูง  ต่ำ  การเดินอาจให้เด็กเดินในหลายๆวิธีอาจเป็นการเดินด้วยส้นเท้า  ปลายเท้า
        กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา  การเคาะจังหวะให้ครูพูดชื่อเห็ดก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะเรื่อยๆไม่ต้องงหยุด  แล้วครูค่อยทำการเปลี่ยนคำสั่งใหม่
        กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  ก็ให้เด็กได้ทำในทุกๆวันง่ายๆ
(สอนโดย : นาวสาวพรวิมล  ปาผล : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  แผนที่เขียนในตรงสาระที่ควรเรียนรู้  คือ  ต้องเขียนถึงประโยชน์ของเห็ด  ว่าเห็ดสามารถนำมาประกอบอาหารได้  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูอาจให้เด็กกระโดดขาเดียวหรือของขาก็ได้  เด็กบางคนอยากจะกระโดดขาเดียว  เด็กบางคนอยากจะกระโดดสองขาสลับกันก็ได้  เปลี่ยนการเคลื่อนไหวหลายๆแบบที่ทำให้เด็กสนุกสนาน 

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี  สมศรี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายผักที่กินหัว  คือ  แครอท  ทำให้ผิวเรียบเนียน  มีเนื้อแน่น  ครูอาจให้เด็กได้ดีดหรือจับ สัมผัส  ว่าเนื้อแน่น  ผิวเนียนหรือไม่ให้เด็กได้สัมผัสจากของจริง  ผักที่กินผล  คือ  ฟักทอง  เนื้อแน่น  ผิวไม่ย่น ครูอาจจะให้เด็กใช้นิ้วดีดที่ลูกฟักทอง เพื่อเป็นการทดสอบว่าฟักทองเนื้อแน่นจริงไหม  โดยการบรรยายให้เด็กได้แสดงท่าทางตามจินตนาการตั้งแต่ไปตลาดจนการเลือกซื้อผักให้เขาได้สัมผัส
 (สอนโดย : นาวสาวอินธุอร  ศรีบุญชัย : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ครูบรรยายให้เด็กเก็บผักสวนครัวนั้นให้เด็กได้แสดงท่าทางตามคำบรรยายตามจินตนาการของตนเองตั้งแต่เริ่มต้นการบรรยาย  ครูให้เด็กถือตะกร้าใส่ผักเด็กต้องทำท่าถือตะกร้าเด็กอาจจะทำท่าทางแตกต่างกันก็ได้  ครูพาเด็กเก็บผักโดยการให้เด็กได้นับจำวนต้นผัก  10  ต้น  การให้เด็กเก็บผักไม่ควรให้เด็กยืนเก็บผักครูต้องใส่ลงในคำบรรยายไว้ด้วยว่าเด็กๆนั่งลงเก็บผักทีละต้น  แล้วให้เด็กนับไปด้วย 1-10 ต้น  เมื่อครบแล้วให้เด็กใส่ตะกร้าแล้วค่อยบรรยายให้เด็กเก็บผักอย่าอื่นจนครบ  เวลาที่เด็กเก็บผักครูต้องให้เด็กนั่งลงก่อนค่อยเก็บผักเด็กจะได้ไม่เมื่อย  ไม่ปวดหลัง

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอรุณี  พระนารินทร์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  การเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น  ซ้าย  ขวา  หน้า  หลัง  ครูอาจเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวเป็นการเดินด้วยส้นเท้า  ปลายเท้า  ด้านข้างของเท้า  หรือด้านในของเท้าก็ได้  หลังจากเคาะจังหวะแล้วค่อยสั่ง  ครูต้องให้เด็กรู้จักการระมัดระวังตัวเองในการเคลื่อนไหว  ไม่ชนกับเพื่อนในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหว
        สาระที่ควรเรียนรู้  คือ  ต้องอธิบายเกี่ยวกับพลังงานของยานพาหนะแต่ละชนิดมีการขับเคลื่อนด้วยอะไร   เช่น  รถยนต์ใช้น้ำมัน  เรือใช้น้ำมัน  จักรยานใช้พลังงานกลในการปั่นเพื่อให้รถวิ่งได้  เรือใบใช้แรงลมในการเคลื่อนที่  เป็นต้น
 (สอนโดย : นาวสาวธนาภรณ์  ใจกล้า  : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยายในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐานควรที่จะมีการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย  เช่น  การเดินด้วยส้นเท้า  ปลายเท้า  ด้านข้างของเท้า  ด้านในของเท้า  การสคริปต์ หรือเป็นการควบม้าก็ได้  ตอนที่ครูบรรยายไม่ต้องเคาะจังหวะ  จะต้องเคาะเป็นช่วงๆเท่านั้นในการบรรยายการล้างรถ  ให้คิดไว้เสมอว่าขั้นตอนการล้างรถต้องทำให้ถูกวิธีถูกขั้นตอนทุกอย่าง  ไม่ได้มาจากความคิดของตนเอง  ขั้นตอนการล้างรถจะเป็นการสอนเด็กว่าเด็กจะทำอะไรก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อย  ครูต้องมีความรู้ในเรื่องของการล้างรถที่ถูกวิธี  การที่จะสอนให้เด็กล้างรถครูอย่าคิดที่จะสอนตามความคิดของตนเองต้องสอนมาจากความเป็นจริง  ก่อนสอนครูต้องค้นคว้าหาความรู้ก่อนว่าวิธีการล้างรถต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้สอนเด็กไปในทางที่ถูกต้อง

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นายวรมิตร  สุภาพ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ครูควรเคาะจังหวะพื้นฐาน  2 ครั้งแล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่ง  เช่น  ให้เด็กแปลงกายเป็นไข่ผีเสื้อ  หนอนผีเสื้อ  ดักแด้  ผีเสื้อ  ขณะที่แปลงการนั้นครูควรให้เวลาเด็กได้ทำท่าทางตามจินตนาการก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะกิจกรรมพื้นฐานอีกครั้ง  แล้วทำการสั่งคำสั่งเมื่อทำครบทุกอย่างแล้วค่อยเข้าที่กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
 (สอนโดย : นาวสาวณัฐชญา ชาญณรงค์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ให้แก้ไขที่สาระที่ควรเรียนรู้  คือ  ผีเสื้อช่วยในการผสมเกสรดอกไม้  ช่วยในการขยายพันธุ์พืช  ช่วยสร้างระบบนิเวศให้สมดุล และการเปลี่ยนแปลงของผีเสื้อ

หน่วยส้ม  (สอนโดย : นางสาวมธุรินทร์  อ่อนพิมพ์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะการที่ครูให้เด็กหาบริเวณและพื้นที่ให้กับตัวเองโดยไม่ชนกับเพื่อน  ครูไม่ต้องทำการเคาะจังหวะใดๆทั้งสิ้น  ให้ครูบอกไปเลยไม่ต้องทำการเคาะ  ไม่ต้องพูดว่าให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามจังหวะที่ครูเคาะ  เช่น  เดินตามจังหวะที่ครูเคาะนะค่ะ  ครูสามารถสั่งให้เด็กเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวที่หลากหลาย  ครูมีการบรรยายข้ามขั้นตอน  เด็กขึ้นรถไฟเด็กยังไม่ลงจากรถไฟแต่เด็กเก็บส้มแล้วผิด  ครูต้องบรรยายให้เป็นไปตามขั้นตอนที่เป็นจริง  เช่น  ครูพาเด็กขึ้นรถไฟไปสวนส้ม  เมื่อถึงสวนส้มรถไฟก็หยุด  ครูพาเด็กๆลงจากรถไฟ เด็กๆลงจากรถไฟค่ะ”  แล้วเราก็มาถึงสวยส้มแล้ว  เด็กๆเก็บส้มใส่ตะกร้า  เก็บส้มสูงๆๆๆ  ต่ำๆๆๆๆ ให้เด็กได้เคลื่อนไหวในระดับที่แตกต่างกัน  แต่ไม่ต้องเคาะจังหวะ  กิจกรรมนี้ไม่ต้องถามเด็กว่าส้มมีประโยชน์อะไรบ้าง  เพราะกิจกรรมนี้ไม่ได้อยู่ในการบรรยายของครู  ควรเป็นการให้เด็กเก็บส้มไปขาย  หรือคั้นน้ำส้มขาย  เพราะว่าน้ำส้มมีประโยชน์  มีวิตามินซี  ช่วยไม่ให้เป็นหวัด  ไม่ท้องผูก  ให้ครูอธิบายประโยชน์ของส้ม  ควรบรรยายตามที่ครูเขียนไว้  ควรทำการเปลี่ยนแปลงในการเก็บส้ม    
 (สอนโดย : นาวสาวสกาวเดือน  สอิ้งทอง: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง  ครูต้องใช้คำสั่งทีละอย่าง  เช่น  ส้มจีนกระโดด  แล้วครูทำการให้เด็กทบทวนส้มจีนกระโดด  แล้วให้เด็กกระโดด
กิจกรรมพื้นฐาน > การเคาะจังหวะไม่ชัดเจน  และไม่ถูกต้อง  ต้องให้เด็กเดินตามจังหวะที่ครูเคาะ  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  กิจกรรมพื้นฐานอาจจะให้เด็กเดินด้วยปลายเท้า  เดินด้วยส้มเท้า  ให้เด็กได้เดินด้วยวิธีที่หลากหลาย  การเคาะให้เคาะให้ชัดเจน  ให้เคาะพอดีๆ  ไม่ต้องเคาะแรง  สั่งคำสั่งให้ชัดเจน
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา > ให้เชื่อโยงกิจกรรมพื้นฐานเข้ามาโดย  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  แล้วครูค่อยให้คำสั่งเด็กว่าส้มจีนให้เด็กกระโดด  ส้มเขียวหวานให้เด็กทำท่าบิน  หลังจากนั้นค่อยเคาะเข้าเชื่อมโยงกิจกรรมพื้นฐาน  แล้วค่อยสั่งคำสั่งเด็กใหม่หมุนเวียนไปเรื่อยๆจนครบทุกฐาน  แล้วค่อยเข้าผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ > ครูอาจให้เด็กนั่ง  นอน  นอนปั่นจักรยาน  หรือสลับกันนวดก็ได้

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นางสาวกัญญารัตน์  หนองหงอก : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูควรเปลี่ยนคำพูดในการเคาะจังหวะ  แล้วให้เด็กหมุนส่วนต่างๆของร่างกาย  เด็กอาจจะหมุนคอ  หมุนไหล่แล้วแต่เด็ก  กิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่  ไม่ควรทำคำบรรยายติดกัน 2 คำ  เพราะจะทำให้เด็กงง  และน่าเบื่อ  อาจจะให้เด็กแปลงกายเป็นแม่ค้าขายกล้วยทอด  เป็นชาวสวนกล้วย  คนขับรถบรรทุกกล้วย  ให้เด็กได้ทำตามคำสั่งในสิ่งที่ครูสั่ง  ให้เด็กทำตามคำสั่ง  ไม่ต้องมีการบรรยาย  และเวลาครูสั่งคำสั่งให้ครูพูดให้เด็กฟัง  แล้วค่อยให้เด็กทำตามคำสั่งแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นคำสั่งใหม่ทันที  ครูต้องเคาะจังหวะให้ชัดเจน  และให้เด็กฝึกการฟังคำสั่งของครู  เคาะหยุดแล้วให้เด็กฟังคำสั่ง  ครูต้องฝึกให้เด็กฟังคำสั่ง  และตั้งใจฟังคำสั่งของคุณครูนะค่ะ  ถึงเด็กจะทำตามคำสั่งได้ถูกต้อง  เป็นการฝึกให้เด็กฟังครูทีละสเต็ปของการฟังคำสั่งของครู  ครูต้องใส่ใจในเนื้อหารของการสอนในแต่ละกิจกรรม  วิธีการเลือกซื้อหรือประโยชน์ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการเลือกซื้อกล้วยที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
 (สอนโดย : นาวสาวณัฐชญา  ตะคุณนะ: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูต้องหาวิธีการเลือกซื้อกล้วย  ค้นคว้าหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม  การบรรยายของครูไม่เจาะลึกลงไปที่วิธีการเลือกซื้อกล้วย  และสาระที่ควรเรียนรู้ที่จะต้องทำการแก้ไข  คือ  การเลือกซื้อกล้วยควรมีการเลือกซื้อในลักษณะอย่างไร  แล้วให้อธิบายลงไปในแผนให้ละเอียด

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ถูกต้องและถูกวิธี  การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  มีนาคม  2559
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันจันทร์  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันอังคาร  อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มไหนสอบสอนก่อนก็ได้ไม่ต้อง  กลุ่มในพร้อมให้ออกมาสอบสอนก่อนเลย  เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม  ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง  โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้

หน่วยส้ม  (สอนโดย : นาวสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
       การเขียนแผนของเพื่อนกลุ่มส้มใช้ดินสอเขียนแผนควรใช้ปากกาในการเขียนแผน  ไม่ควรใช้ดินสอในการเขียนแผน  ที่มาของแผนการจัดประสบการณ์ก็ไม่มี  เว็บใยแมงมุมแสดงประสบการณ์ที่จะสอนเด็กก็ไม่มี
(สอนโดย : นาวสาวนฤมล  เส้งเซ่ง : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  เพื่อสอยกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่ตรงกับแผนที่เขียนมา  กิจกรรมพื้นฐานก็ไม่มี  เพื่อนมีความตื่นเต้นในการสอน  พูดไม่เป็นธรรมชาติ  สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็คือ 
กิจกรรมพื้นฐาน > การเคาะจังหวะไม่ชัดเจน  และไม่ถูกต้อง  ต้องให้เด็กเดินตามจังหวะที่ครูเคาะ  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  กิจกรรมพื้นฐานอาจจะให้เด็กทำท่าควบม้า  เดินด้วยปลายเท้า  เดินด้วยส้มเท้า  ให้เด็กได้เดินด้วยวิธีที่หลากหลายเด็กจะไม่เกิดอาการเบื่อหน่าย
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา > ให้เชื่อโยงกิจกรรมพื้นฐานเข้ามาโดย  เคาะช้า  เร็ว  เคาะติดกัน 2 ครั้งให้หยุดในท่านั้นทันที  แล้วครูค่อยให้คำสั่งเด็กว่ามุมนี้เป็นส้มอะไร  มุมนี้เป็นส้มอะไร  หลังจากนั้นค่อยเคาะเข้าเชื่อมโยงกิจกรรมพื้นฐาน  แล้วค่อยสั่งคำสั่งเด็กใหม่หมุนเวียนไปเรื่อยๆจนครบทุกฐาน  แล้วค่อยเข้าผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ > สามารถใช้ได้หลายรูปแบบอาจจะให้เด็กนั่งเป็นแถวแล้วค่อยผลัดกันนวด  โดยการนวดสลับกัน

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นาวสาวกัตติกา  สะบานงา : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)


        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูสามารถนำรูปมาติดในแผ่นชาร์ตได้  ครูควรใช้ปากกาสีน้ำเงินให้เด็กสามารถมองเห็นตัวหนังสือได้  และให้ใช้ปากกาสีอื่นให้แตกต่างกันเพื่อให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของคำ  ครูไม่ควรเอาชนิดของผีเสื้อมาเยอะ  เพราะเด็กจะจำชนิดของผีเสื้อได้หมด  ควรนำมาแค่ 3 ชนิดพอ  การติดรูปการแยกประเภทของผีเสื้อต้องติดจากทางซ้ายไปขวามือเด็กเสมอ  ครูใช้คำถาม  ผีเสื้อกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน”  หลังจากนั้นหาเด็กออกมาทีช่วยจับคู่ 1:1  ไหนคนเก่งของครูออกมาหยิบผีเสื้อกระท้อนหนึ่ง  และไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนหนึ่ง”  หลังจากนั้นถามเด็กโดยถาม  แสดงว่าไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนมีมากกว่าผีเสื้อกระท้อน
(สอนโดย : นาวสาวสิโรธร  ละอองเอก : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นกิจกรรมที่เน้นการเคลื่อนไหวของร่างกาย  ไม่ต้องใช้แผ่นชาร์ตเพลง  เพลงที่ใช้ในกิจกรรมควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว  ครูต้องร้องเพลงพร้อมกับเด็กก่อน  แล้วค่อยให้จังหวะเพลงกับเด็ก  โดยครูแบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม
        กลุ่มที่ 1 เต้น  กลุ่มที่ 2 ร้องเพลง > กลุ่มที่ 3  ปรบมือ  > กลุ่มที่ 4  เครื่องเคาะจังหวะ  ให้ทำกิจกรรมหมุนเวียนสลับกันจบครบทุกกิจกรรม  โดยการวนจากซ้ายไปขวา  และกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ต้องใช้เวลานานมาก  แต่เน้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกวัน 

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวนิศากร  บัวกลาง : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเขียนแผนประเภทของผักต้องเขียนให้ชัดเจน
ผักกินใบ  คะน้า  กวางตุ้ง  กะหล่ำ  ฯลฯ
ผักกินดอก  >  ดอกกะหล่ำ บร็อกโคลี่  ฯลฯ
ผักกินหัว  >  เผือก  แครอท  หัวไช้เท้า  มันเทศ  หอมหัวใหญ่  ฯลฯ
ผักกินผล  ฟักทอง  มะเขือเทศ  พริก  มะระ  ฯลฯ
ต้องทำตารางและเขียนให้ชัดเจน  พอครูถามว่า เด็กๆผักอะไรกินใบค่ะ”  ครูเขียนสิ่งที่เด็กพูดลงไปในแผ่นชาร์ต  ถ้าเป็นไปได้ครูควรเอาผักของจริงให้เด็กได้เห็น  ได้สัมผัส
(สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี  สมศรี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวไม่ต้องใช้ชาร์ตเพลง  เคาะจังหวะให้ชัดเจน  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะควรให้เด็กได้เดินที่หลากหลาย  เดินด้วยปลายเท้า  ส้นเท้า  ด้านข้างของเท้า  ด้านในของเท้า  หรือจะเป็นท่าควบม้าปรับเปลี่ยนหลายๆวิธีเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อหน่าย  หลังจากที่ครูทบทวนการร้องเพลงแล้ว  ครูเรียกเด็กออกมา 1 คน  ทำท่าทางประกอบเพลงนำเพื่อน  เพื่อให้เด็กทำท่าทางตามจินตนาการในท่าทางใหม่ๆที่แตกต่างกัน  ผลัดกันสัก 3-4 คน  ไม่ต้องให้เด็กออกมาแสดงท่าทางทุกคนเลือกออกมา 3-4 คนหมุนเวียนกันไป  แล้วค่อยเข้าด้วยกิจกรรมสุดท้ายกิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ควรใช้เวลามาก

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอารียา  เอี่ยมโพธิ์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)


        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูต้องให้เกณฑ์ที่ชัดเจนในประเภทของยานพาหนะ  เช่น  ยานพาหนะทางบก  > รถยนต์  รถไฟ  จักยานยนต์
        ยานพาหนะทางน้ำ  เรือ  เรือยอร์ช
        ยานพาหนะทางอากาศ  เครื่องบิน  เฮรี่คอปเตอร์
การแยกประเภทของยานพาหนะต้องให้เด็กเห็นได้สื่อชัดเจนต้อง  แล้วให้เด็กเห็นที่วางสื่อในการแยกประเภทของยานพาหนะได้ทุกคน  ให้เด็กออกมาแยกประเภทของยานพาหนะทีละคนจนหมด  แล้วค่อยให้เด็กนำรูปภาพยานพาหนะที่เด็กแยกไปติดที่แผ่นชาร์ตกราฟแสดงจำนวน  แล้วค่อยทำการสรุปผล
(สอนโดย : นาวสาวกมลมาศ  จันทร์ไพศรี : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)

       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของกลุ่มยานพาหนะต้องเคาะให้ชัดเจน  กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย  เมื่อครูบรรยายเสร็จให้ครูทำการเคาะให้เด็กได้หยุดอยู่กับที่ด้วย  เช่น  เด็กๆจอดจักรยานไว้บนถนนแล้วค่อยลงไปที่ชายหาด  ขณะที่ครูพูดนั้นครูต้องเคาะให้เด็กได้หยุดในจังหวะหยุด  เพราะว่าถ้าเราเคาะไปเรื่อยแล้วค่อยหยุดอาจทำให้เด็กเกิดอาการงงได้

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นาวสาวเนตรนภา  ไชยแดง : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์แผ่นชาร์ตเพลงภาพกล้วยไม่ควรเป็นสีสะท้อนแสงเพราะจะทำให้เด็กเสียสายตา  และการบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์การนับจำนวนของกล้วยไม่ควรนำภาพมาทั้งหวีให้เด็กนับต้องนำภาพมาเป็นลูกๆ  เพราะจะทำให้เด็กนับไม่ได้  ควรจะเอาของจริงมาสอน  ให้เด็กได้นับ  แยกประเภท  สัมผัส  ชิมรส  และลักษณะต่างๆของกล้วยเด็กจะได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้มากขึ้น  ถ้าเอาภาพมาทั้งหวีเด็กก็นับไมได้เลย
(สอนโดย : นาวสาวอริสา ยุนุห์ : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะครูควรเคาะจังหวะให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความไม่เข้าใจในจังหวะที่ครูเคาะ  เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหว  ครูต้องเว้นระยะในการเคาะจังหวะหยุดด้วยเด็กจะได้เข้าใจว่าเสียงเคาะ ครั้งติดต่อกันหมายถึง  หยุดอยู่ในท่านั้นทันที

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาววรรวิภา  โพธิ์งาม : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)

        การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูต้องทำที่วางแผ่นภาพและตัวเลขให้อยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ทำให้เด็กสามารถมองเห็นได้ทุกคน  เช่น  เห็ดให้อยู่บ้างบนโดยใช้ไม้ยาว  ส่วนตัวเลขให้ใช้ไม้สั้นเพื่อให้เด็กได้เห็นชัดเจน  แผ่นชาร์ตต้องติดใส่ฟิวเจอร์บอร์ตรองด้านหลังเพื่อให้มันดูเรียบร้อย และแข็งแรง  การสอนการจัดประสบการณ์ต้องสอนให้เป็นไปตามลำดับเมื่อพาเด็กร้องเพลงเสร็จให้ใช้คำถามปลายเปิด  เด็กๆค่ะในเพลงที่เด็กร้องเขาพูดถึงเห็ดอะไรบ้างค่ะ”  ครูทำการจดบันทึกคำพูดของเด็กที่เด็กพูดลงในแผ่นชาร์ต  หลังจากนั้น
        ครูนำรูปเห็นที่เสียบไม้ไว้ในกล่องแล้วคลุมด้วยผ้าขาว  เด็กๆทายซิค่ะใต้ผ้าผืนนี้มีอะไรค่ะ”  ครูค่อยเฉลย  กล่องที่นำมาใส่รูปเห็นไม่ควรปิดจนเด็กมองไม่เห็น  ควรใส่ตะกร้าหรืออะไรก็ได้ที่เด็กสามารถมองเห็นได้  หลังจากนั้นค่อยถามเด็ก  เด็กๆค่ะในกล่องนี้มีเห็นกี่อันค่ะ”  เดี่ยวเรามาพิสูจน์กัน  ครูเอาออกมาที่ละอันแล้วปักลงบนแผงไข่ให้เด็กนับทีละชิ้นจนหมดแล้วค่อยให้เด็กนำตัวเลขแทนค่าจำนวนของเห็ดทั้งหมด  หลังจากนั้นทำการแยกประเภทของเห็ดต้องเรียงจากทางซ้ายไปขวามือเด็กเสมอ  ครูใช้คำถาม  เห็ดกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน”  หลังจากนั้นหาเด็กออกมาทีช่วยจับคู่ 1:1  ไหนคนเก่งของครูออกมาหยิบเห็ดเข็มทองหนึ่ง  และไม่ใช่เห็ดเข็มทองหนึ่ง”  หลังจากนั้นก็สรุป  แสดงว่าไม่ใช่เห็ดเข็มทองมีมากกว่าเห็ดเข็มทอง
(สอนโดย : นาวสาวพิชากร  แก้วน้อย : กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องมีการให้เด็กได้เปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน  เพื่อให้เด็กได้เปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเจ

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างถูกต้องตามลำกับ  และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ  และสามารถคิด  วิเคราะห์ได้  จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุดเพื่อให้เด็กสามารถคิด  วิเคราะห์ได้ในการเรียนระดับชั้นต่อไป

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-

การประเมินในชั้นเรียน

ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นพฤติกรรมที่เพื่อต้องปรับปรุงมากที่สุด  การที่มีผู้พูดจะต้องมีผู้ฟังที่ดีด้วย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  ทุกคำพูดที่ใช้มีความสำคัญทุกคำถามที่ถามเด็กเกิดการเรียนรู้  การพูดของอาจารย์เป็นการสอนที่มีค่าสำหรับนักศึกษาในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์