แผนการจัดประสบการณ์
E-Portfolio Subject to the LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD Semester 2 /2558
วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559
วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559
บันทึกอนุทินครั้งที่ 17
บันทึกอนุทิน
วันที่ 25 เมษายน 2559
ครั้งที่ 17 เวลาเรียน 14.30
– 17.30 น.
การวิเคราะห์ผลกระทบที่เด็กไม่สงบ
มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของตัวเขาเองและเพื่อน ในกรณีที่เขาไม่สงบหรือพาดพิงกับเพื่อนทำให้เด็กเองนั้นไม่สามารถเกิดการเรียนรู้เองได้ เพราะการเรียนรู้นั้นมาจากประสบการณ์สำคัญ
แต่เด็กไม่มีประสบการณ์สำคัญเนื่องจากเพื่อนรอบตัวไม่นิ่งและเล่น
ผลกกระทบที่เด็กไม่สงบทำให้เราไม่สามารถสอนได้เต็มที่ตามแผนการจัดประสบการณ์ ทำให้เด็กได้รับการเรียนรู้ไม่เต็มที่
ครูผู้สอนเองต้องรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเด็กมาจากรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู ว่าในแต่ละปัญหามีทางแก้อย่างไร
เคลื่อนไหวและจังหวะต้องทำให้สูงกว่ามาตรฐาน แต่มาตรฐานขั้นต่ำเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหว
การสอนแบบ PROJECT APPROACH
ในการสอน 2 สัปดาห์ในการสอน 3 ระยะ
ระยะที่1 ระยะเริ่มต้นโครงการ > การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเรียน
ระยะที่2 ระยะพัฒนาโครงการ > ประสบการณ์เดิมโดยให้เด็กวาดภาพ กิจกรรมที่เด็กอยากทำ การกำหนดปัญหาที่อยากจะศึกษา การทำกิจกรรมให้ทำกิจกรรมที่เด็กอยากทำ
ในกิจกรรมที่เด็กกำหนดเองในระยะพัฒนาโครงการ และแหล่งเรียนรู้ไปร้านไข่ เพื่อให้เด็กรู้ว่าไข่มาจากไหน ไข่มีกี่ประเภท ไข่ทำให้เกิดอาชีพ และวิธีการแปรรูปไข่
ระยะที่3 ระยะสรุปโครงการ > เด็กสรุปโครงการด้วยการนำเสนอโครงการ กำหนดหน้าให้เด็กว่าใครทำหน้าที่อะไร นำเสนอผลงานโครงการ หรือการทำ MINI PROJECT
การทำสารนิทัศน์เคลื่อนที่
สอบสอนการจัดประสบการณ์
ครูต้องบอกทีละขั้นตอน
ครูต้องลักษณะนามให้ถูกต้อง อัตราส่วนต่างๆของส่วนผสมของเครื่องปรุงบอกให้ชัดเจน ว่าใช้เป็นกี่ช้อน กี่แก้ว
กี่ถ้วย เด็กจะได้บูรณาการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์
ครูควรถามเด็กในขณะที่นำวัสดุอุปกรณ์มาให้เด็กดู ควรตั้งคำถามด้วยปลายเปิด “เด็กๆทายซิค่ะ ภายในผ้าผืนนี้มีอะไรค่ะ” เพื่อให้เด็กได้ตอบคำถามเด็กก็ตอบแตกต่างกัน เพราะเด็กแต่ละคนมีความคิดไม่เหมือนกัน แล้วเราค่อยเฉลย
หลังจากนั้นครูค่อยเอาวัตถุดิบอุปกรณ์ออกมาให้เด็กดูทีละชิ้นแล้วถามเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการคิด วิเคราะห์
เช่น เอาเห็ดออกมา “เด็กๆค่ะ นี่อะไรค่ะ” เมื่อนำของออกมาให้เด็กดูหมดแล้วครูตั้งปัญหาโดยการตั้งคำถามปลายเปิด “เด็กๆคิดว่าเห็ดจะทำเป็นอาหารอะไรได้บ้างค่ะ”เด็กก็จะตอบถามของครู
หลังจากนั้นให้ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน โดยกำหนดดังนี้
กลุ่มที่ 1 ให้วาดภาพ
กลุ่มที่ 2 ล้างเห็ด พักเห็ดไว้ให้สะเด็ดน้ำ
กลุ่มที่ 3 ผสมแป้ง
และส่วนผสมเครื่องปรุงต่างๆ
กลุ่มที่ 4 ทอดเห็ดทอดกรอบ
ครูตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการคาดคะเน
“เห็ดชุบแป้งทอดในน้ำมันร้อนๆ จะเกิดอะไรขึ้นค่ะเด็กๆ” เป็นการบูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การทดลองเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต
สรุป “เห็ดที่เด็กๆทอดเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างค่ะ” เมื่อเสร็จสิ้นทุกอย่าง หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอข้อมูล โดยการนำเสนอกราฟแสดงผล โดยกิจกรรมทั้ง 4 กลุ่มให้หมุนเวียนกันทำกิจกรรมให้ครบทุกฐาน ส่วนกลุ่มทอดเห็นครูต้องจัดเตรียมเห็ดชุบแป้งทอดเอาไว้ให้เด็ก
แก้ไขแผนเคลื่อนไหว
ไม่ต้องเขียนว่าเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
แล้วสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว
กิจกรรมพื้นฐานจะต้องเคาะให้ชัดเจน
และการบอกคำสั่งต้องจัดเจนมากกว่านี้ถ้าบอกคำสั่งไม่ชัดเจนจะทำให้เด็กงงกับคำสั่งที่ครูสั่ง กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาควรให้คำสั่งก่อนค่อยเคาะการเคาะกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อให้เชื่อมโยงเหมือนการเคาะกิจกรรมพื้นฐานก่อนค่อยบอกคำสั่งเด็ก
เมื่อบอกคำสั่งเด็กเสร็จแล้วให้เคาะในจังหวะของกิจกรรมพื้นฐานอีกรอบแล้วค่อยให้คำสั่ง ทำอย่างนี้หมุนเวียนให้ครบทุกมุม แล้วค่อยเคาะจังหวะของกิจกรรมพื้นฐาน แล้วคค่อยต่อด้วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนดารสอนให้ถูกต้องตามลำกับ และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถคิด
วิเคราะห์ได้
จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุด
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหว สอนและให้ความรู้เพื่อนเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแก่
(นางสาวนฤมล เส้งเซ่ง)
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559
บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
บันทึกอนุทิน
วันที่ 18 เมษายน 2559
ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 14.30
– 17.30 น.
ความรู้ที่ดีรับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบสอนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนที่สอนในวันศุกร์
อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆในการจัดประสบการณ์ของเพื่อนมีข้อที่จะต้องแก้ไขต่างๆในการจัดประสบการณ์
สอบสอนการจัดประสบการณ์
การสอนสอนคนละทางไม่สอดคล้องกับความปลอดภัยและข้อควรระวังต้องคาดเข็มขัดนิรภัย
ถ้านั่งบนเรือต้องนั่งให้เรียบร้อยแล้วใส่เสื้อชูชีพ ไม่ดื่มเหล้าดื่มของมึนเมาขณะขับรถ การขับรถต้องจำกัดความเร็วในการขับขี่
นิทานที่เล่าต้องเล่าให้สอดคล้องกับความปลอดภัยและข้อควรระวังในการขับขี่ ครูควรใช้คำถามคำถามปลายเปิด “เด็กๆลองบอกครูซิว่า ถ้าเราขับรถข้างทางรถไฟเราต้องทำอย่างไร ต้องรอดูสัญญาณก่อนค่อยขับรถผ่านไป” ถ้าเราขับรถถึงสี่แยก เราต้องทำอย่างไร ครูต้องสอนและสอดแทรกเด็กในการเท่านิทานว่าเราขับรถต้องมีใบขับขี่ ต้องรู้กฏจราจร เวลาขับขี่ต้องขาดเข็มขัดนิรภัย ต้องรู้ว่าเมื่อถึงสี่แยกไฟเราต้องควรทำอย่างไร ต้องถามเด็กๆ
ว่า สัญญาณไฟแดง สัญญาณไฟเขียว
สัญญาณไฟเหลือง
หมายถึงอะไรให้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับความหมายของสัญญาณไฟไปในนิทาน เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้
การสอบสอนของกลุ่มส้ม
เป็นการจัดประการณ์การประกอบอาหาร
การทำ “น้ำส้มคั้น” ในแผ่นชาร์ตให้แยกวัตถุดิบ อุปกรณ์
และวิธีการทำแยกออกให้ชัดเจน
ส้มควรจัดให้อยู่ในวัตถุดิบ
ไม่ใช่อุปกรณ์
ให้แจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบให้เรียบร้อย
ส้มกี่ลูก เกลือเท่าไหร่ ให้บอกรายละเอียดของวัตถุดิบให้ละเอียดเพื่อเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์
ขั้นนำ : ให้ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น แล้วให้เด็กตอบ เช่น “เด็กๆค่ะนี่อะไรค่ะ” ถ้าเด็กตอบไม่ได้ครูต้องบอกให้เด็กได้รู้
เมื่อแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์หมดทุกอย่างแล้ว
ขั้นสอน : ครูเปิดประเด็นคำถาม “วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ” เด็กก็จะเกิดการคิด วิเคราะห์
เด็กก็ตอบคำถามของครูที่แตกต่างกัน
แบ่งกลุ่มให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มละเท่าๆกัน โดยแบ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ใครจะหั่น
ใครจะคั้น ใครจะใส่เกลือ
และน้ำตาลเชื่อม ให้เด็กแบ่งหน้าที่กันเองในแต่ละกลุ่ม
ครูเป็นคนแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ โดยแบ่งออกเป็น
4
กลุ่ม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 ให้วาดภาพ
กลุ่มที่ 2 หั่นส้ม (ให้เด็กหั่นส้มออกเป็น 2 ส่วน โดยการหั่นเป็นครึ่งลูก) บูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์
กลุ่มที่ 3 นำส่วนผสมลงในน้ำส้ม เช่น
เกลือ น้ำเชื่อม “เด็กๆคิดว่าเมื่อนำเกลือและน้ำเชื่อมมาผสมกับน้ำส้มคั้นจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ” เพื่อบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์
กลุ่มที่ 4 น้ำส้ม
ขั้นสรุป : ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองและให้เด็กอธิบายวิธีการทำน้ำส้มคั้นอย่างเป็นขั้นตอน
เมื่อนำเสนอผลงานเสร็จให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
การสอบสอนของกลุ่มกล้วย
เป็นการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารการทำ
“กล้วยเชื่อม” ในแผ่นชาร์ตให้แยกวัตถุดิบ
อุปกรณ์
และวิธีการทำแยกออกให้ชัดเจน และบอกสัดส่วนอัตราสัดส่วนของวัตถุดิบและส่วนผสมให้ชัดเจน เช่น
กล้วย 1 ลูก แบ่งออกเป็น4 ส่วน น้ำตาลทรายกี่ช้อน น้ำหวานกี่แก้ว น้ำเปล่ากี่ถ้วยตวงเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์
การบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์ แนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบ และวิธีการใช้อุปกรณ์ โดยครูเปิดประเด็นการตั้งคำถามว่า “กล้วยเราจะนำมาทำของหวานได้อย่างไร”
การตั้งสมมติฐาน > “ถ้าครูเอากล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น” แล้วทำการทดลอง
เพื่อให้เด็กได้สังเกต
สาระที่ควรเรียนรู้ > กล้วยสามารถนำมาประกอบอาหารประเภทของหวานได้ เช่น
กล้วยเชื่อม
โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้ เราก็อธิบายวิธีกรทำลงไป
การสอบสอนของกลุ่มผีเสื้อ
เป็นการจัดประการณ์การประกอบอาหาร
การทำ “ขนมปังปิ้งรูปผีเสื้อ” การเขียนแผ่นชาร์ตแยกวัตถุดิบ อุปกรณ์
วาดภาพประกอบและวิธีการทำแยกออกได้ชัดเจน
ขั้นนำ : ให้ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น แล้วให้เด็กตอบ เช่น “เด็กๆค่ะนี่อะไรค่ะ” โดยการให้เด็กแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์
ถ้าเด็กตอบไม่ได้ครูต้องบอกให้เด็กได้รู้
เมื่อแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์หมดทุกอย่างแล้วให้เข้าสู่ขั้นสอนต่อไปได้
ขั้นสอน : ครูเปิดประเด็นคำถาม “วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ” เด็กก็จะเกิดการคิด วิเคราะห์
เด็กก็ตอบคำถามของครูที่แตกต่างกัน
แบ่งกลุ่มให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มละเท่าๆกัน โดยแบ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการทำกิจกรรม ให้เด็กแบ่งหน้าที่กันเองในแต่ละกลุ่ม ครูเป็นคนแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่ 1 ให้วาดภาพ รูปผีเสื้อ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มทาเนย
กลุ่มที่ 3 กลุ่มปิ้งขนมปัง ครูตั้งประเด็นปัญหา“เราจะทำอย่างไรให้ขนมปังมันร้อน” เพื่อบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์
แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสังเกตจากการทดลองปิ้งขนมปัง “เมื่อนำขนมปังไปปิ้งแล้วจะเกิดอะไรขึ้น” # เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนมปัง ขนมปังเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและกรอบ
กลุ่มที่ 4 วาดรูปผีเสื้อด้วยซอสช็อกโกแลตตกแต่งบนหน้าขนมปัง
ขั้นสรุป : ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองและให้เด็กอธิบายวิธีการทำขนมปังปิ้งอย่างเป็นขั้นตอน
เมื่อนำเสนอผลงานเสร็จให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
การนำไปประยุกต์ใช้
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างถูกต้องตามลำกับ และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ และสามารถคิด
วิเคราะห์ได้
จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุดเพื่อให้เด็กสามารถคิด วิเคราะห์ได้ในการเรียนระดับชั้นต่อไป
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน
เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นพฤติกรรมที่เพื่อต้องปรับปรุงมากที่สุด การที่มีผู้พูดจะต้องมีผู้ฟังที่ดีด้วย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา อาจารย์สอนดีมาก
ทุกคำพูดที่ใช้มีความสำคัญทุกคำถามที่ถามเด็กเกิดการเรียนรู้ การพูดของอาจารย์เป็นการสอนที่มีค่าสำหรับนักศึกษาในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559
บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
วันที่ 4 เมษายน 2559
ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 14.30
– 17.30 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม
แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม
ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แผ่นชาร์ตนิทานควรตัดภาพใส่กระดาษแข็งเพื่อให้มีความคงทน
แล้วค่อยนำมาติดที่แผ่นชาร์ตเพื่อให้มีมิติ มีความสนใจมากยิ่งขึ้น ให้สื่อการสอนมีความสนใจ
ในเนื้อเรื่องของนิทานควรมีการสนทนากันด้วย ไม่ควรให้ครูเล่าอย่างเดียวจนจบ
และไม่ที่เสียบตัวละครมีความยาวเกินไปให้ตัดสั้นกว่านี้ เพราะเกิดความไม่สมดุล แผ่นชาร์ทแก้ไขหัวข้อเรื่องด้วย
ว่ากราฟแสดงจำนวนสำรวจผู้ที่ต้องการประกอบอาหารจากเด็ก แล้วเขียนคำพูดของเด็กลงไปในแผ่นชาร์ท ครูต้องย้ำเด็กในการสอนเสมอ “ถ้าเด็กๆเห็นเห็ดที่มีสีสันสวยงามนั้นคือเห็ดเป็นพิษ” แล้วต้องนำเห็นมาให้ครูหรือผู้ปกครองดูก่อน ข้อพึงระวังก่อนการรับประทานเห็ด ครูต้องบอกว่า
“เด็กๆระวังอย่ารับประทานเห็ดมีพิษ” คือ เห็ดที่มีสีสันสวยงาม ถ้าเผลอรับประทานลงไป จะเกิดอาการอาเจียน หน้าซีด
และอาจถึงอันตรายต่อชีวิตได้
ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระหว่าที่สอนครูอย่าลืมข้อควรระวัง
ข้อควรระวังครูลืมบอกว่าหนอนกัดกินใบไม้ทำให้เกิดความเสียหาย ครูต้องเล่นนิทานเรียงลำดับขั้นของนิทานให้ดี
ในเรื่องอาจให้มีนก คอยกินผีเสื้อเป็นอาหารก็ได้
การเล่นนิทานของครูใช้ได้
ครูควรถามเด็กเพิ่มเติมหลังจากเล่นนิทานเสร็จแล้ว “ผีเสื้อมีประโยชน์อะไรอีกค่ะ”
แล้วครูทำการจดบันทึกคำพูดของเด็กลงใบแผ่นชาร์ท ครูควรถามเด็ก “เด็กๆดูซิค่ะว่าสุดเล่มนี้มีรูปอะไรบ้างค่ะ” “ทำไมถึงเป็นรูปผีเสื้อค่ะ” เพราะผีเสื้อมีความสวยงาม
หลังจากนั้นครูควรให้ความรู้เพิ่มเติมกับเด็ก “เห็นไหมค่ะของหลายอย่างมีรูปผีเสื้อ เพราะผีเสื้อทำให้สิ่งต่างๆเกิดความสวยงาม” ครูให้ให้ความรู้เพิ่มเติม “เด็กๆพูดตามครูซิค่ะ นักคีตวิทยา
ซึ่งมีหน้าที่ในการผสมพันธุ์ผีเสื้อ” ครูควรมีรูปผีเสื้อให้เด็กได้ดูด้วย
เพราะประโยชน์ของผีเสื้อสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ ควรมีรูปภาพคนที่สร้างอาชีพจากผีเสื้อ โทษของผีเสื้อ
ครูควรบอกข้อควรระวังของผีเสื้อจากอาการแพ้ขนผีเสื้อ คัน
ผื่นขึ้น จาม ครูควรบอกเด็ก
“เมื่อเด็กสัมผัสผีเสื้อผิวของผีเสื้อให้เด็กล้างมือทำความสะอาด ทายา
เพื่อลดอาการแพ้ขนของผีเสื้อ”
หน่วยยานพาหนะ (สอนโดย : นาวสาวธนาภรณ์ ใจกล้า : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ประโยชน์จากกิจกรรมภาพตัดต่อได้อะไรบ้าง การเดินทาง
ขายรถและการท่องเที่ยว
หัวข้อของแผ่นชาร์ทต้องเป็นการสร้างรายได้สร้างอาชีพในการท่องเที่ยว ครูถามเด็กว่า
“ยานพาหนะมีประโยชน์อะไรบ้างค่ะ”
แล้วค่อยจดบันทึกคำพูดของเด็กลงในแผ่นชาร์ท “ประโยชน์ของยายพาหนะมีอะไรบ้างค่ะ” หรือครูใช้นิทานเข้ามาเป็นเทคนิคในการสอนด้วย ครูถามเด็ก
“นอกจากอาชีพขายรถแล้วมีอะไรบ้างค่ะ” แต่ครูกลับเน้นไปพูดที่รถหมด ซึ่งสามารถพูดได้หลายอย่าง เช่น
เรือ คนขับเรือ คนขายตั๋ว
คนซ่อมเรือ คนขับเครื่องบิน พนักงานต้อนรับ แอร์โฮสเตส
สจ๊วต ครูถามเด็กถึงยานพาหนะทางบกเด็กต้องรู้จักชื่อยานพาหนะทางบก และประโยชน์ของยานพาหนะ ครูต้องแยกให้เห็นได้ชัดเจน เช่น
ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ
แล้วสามารถทำให้ครูนั้นสอนได้ง่ายขึ้น
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเขียนชนิดของกล้วย ต้องมีที่ปักเพิ่มสำหรับการแยกประเภทของส้ม การติดรูปการแยกประเภทของส้มต้องติดจากทางซ้ายไปขวามือเด็กเสมอ ครูใช้คำถาม
“ส้มกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน” หลังจากนั้นหาเด็กออกมาทีช่วยจับคู่ 1:1 “ไหนคนเก่งของครูออกมาหยิบส้มโอหนึ่ง และไม่ใช่ส้มโอหนึ่ง” หลังจากนั้นถามเด็กโดยถาม “แสดงว่าส้มโอมีมากกว่าไม่ใช่ส้มโอ” แล้วทำการสรุปลงไปในแผ่นชาร์ต
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่ถูกต้องและถูกวิธี
การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการสอนและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กในอนาคต
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา
ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี
และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก
และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์
มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา อาจารย์สอนดีมาก
อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559
บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน
วันที่ 28 มีนาคม 2559
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 14.30
– 17.30 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม แล้วให้นักศึกษาออกมาสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ของวันอังพุธ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะวันพฤหัสบดี เมื่อนักศึกษาสอบสอนเสร็จอาจารย์จะให้ข้อที่จะต้องแก้ไขและข้อเสนอแนะของแต่ละกลุ่ม
ว่ากลุ่มไหนตั้งปรับตรงไหนมีข้อผิดพลาดตรงไหนเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาตนเอง โดยการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
หน่วยเห็ด (สอนโดย : นาวสาวภัสสร ศรีพวาทกุล : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ แผนการจัดประสบการณ์การเขียนสาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าโดยการเขียนสรุปสั้นๆ ในการผสมผสานการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ควรใช้ถุงมือ หรือน้ำช้อนมาตักไม่ควรใช้มือเปล่า
อาจเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆแต่ครูทุกคนไม่ควรมองข้าม
ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมในการตักส่วนผสมใส่ถุงในก้อนเชื้อก็ได้ แผ่นชาร์ตประกอบครูควรวาดภาพประกอบขั้นตอนวิธีการทำด้วย เพื่อให้เด็กมีส่วนรวม วีดีโอที่นำมาให้เด็กดูนั้นควรเป็นวีดีโอที่ชัดและเสียงดังกว่านี้เด็กจะไม่เข้าใจเพราะเสียงมันไม่ค่อยดัง
(สอนโดย
:
นาวสาวสุนิสา บุดดาราม :
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน ครูไม่ควรให้เด็กเคลื่อนไหวหลายอย่างเด็กจะงงและจำไม่ได้ ถ้าครูสั่งให้เด็กกระโดดแล้วไม่ควรให้เด็กเดินด้วยปลายเท้าอีก
ในการจับกลุ่มเคลื่อนไหวประกอบเพลงครูควรใช้วิธีการจับกลุ่มที่มีความหลากหลาย นอกเหนือจากการให้เด็กนับ 1-3 เช่น
ครูอาจจะใช้สื่อเข้าในการจับกลุ่มเพื่อให้การจับกลุ่มนั้นเกิดความสะดวกขึ้น
อาจให้เด็กที่มีแผ่นสีที่เหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน หรือว่าคนที่มีรูปเหมือนกันให้อยู่ด้วยกัน จับกลุ่มโดยการช้าสัญลักษณ์ ภาพเรขาคณิต
หรือครูอาจใช้คำพูดในการจับกลุ่มของเด็กๆก็ได้ เช่น
นก 5 ตัว
เด็กก็จะจับกลุ่มตามจำนวนของนก
หน่วยผัก (สอนโดย : นาวสาวทิพย์มณี สมศรี : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูควรใช้หัวข้อพืชกินดอกลงไปในการสอน การนำเสนอประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามแผนที่ครูเขียนไว้ให้แยกประเภทของผักให้ชัดเจน ผักกินดอก
ผักกินใบ
(สอนโดย
:
นาวสาวอินธุอร ศรีบุญชัย :
กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูเล่านิทานหนูหน่อยปวดท้อง เพราะไม่กินผัก ครูควรเล่าถึงอาการของหนูหน่อยก่อน เกิดอาการปวดท้อง หนูหน่อยท้องผูก เนื่องจากไม่มีกากใยอาหาร ไม่กินผักแล้วท้องผูก ครูควรใช้คำถาม “เด็กๆคิดว่าผักมีประโยชน์อย่างไรค่ะ” อาจมีอาชีพ คนขายผัก
คนปลูกผัก โรงงาน ชาวสวน
ครูอาจทำถุงมือประกอบการเล่นนิทาน
ส่วนการเล่นนิทานครูนำสื่อเสียบไม้มาเล่ามากกว่าที่จะใช้สื่อที่ทำจากถุงมือ เพราะสื่อการเล่นนิทานที่ทำจากถุงมือนั้นมีขนาดเล็กเด็กไม่สามารถเห็นได้ทุกคน
หน่วยยานพาหนะ (สอนโดย : นาวสาวอรุณี พระนรินทร์ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์สอนซ้ำในเรื่องของประเภทยานพาหนะ ควรเปลี่ยนหัวข้อเป็นการจัดประเภทของการใช้พลังงานของยานพาหนะ สอนไม่ตรงสาระการเรียนรู้ในแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ปริศนาคำทายนั้นควรใช้กับวันที่ 2 ครูควรเน้นการสอนที่พลังงานการขับเคลื่อนของยานพาหนะประเภทต่างๆ
มากกว่าการดูแลรักษาครูต้องศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี เตรียมความพร้อมก่อนการสอน วางแผนก่อนสอน
(สอนโดย
:
นาวสาวประภัสสร หนูสิริ :
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน ครูควรใช้คำพูดที่มีความหลากหลาย สคริปต์
เป็นก้าวชิดกก้าวแทน หรือท่าควบม้า ให้เกิดความหลากหลายในการเคลื่อนไหวกิจกรรมพื้นฐาน
หน่วยกล้วย (สอนโดย : นาวสาวณัฐชยา ตะคุณนะ : กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ครูผู้สอนไม่มาเรียนจึงไม่ได้สอบสอน
(สอนโดย
:
นาวสาวสุธิดารัตน์ เกิดบุญมี
: กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ การบรรยายเรื่องราว ควรให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับสาระที่ควรเรียนรู้ การสอนในวันนี้สอนไม่ตรงกับแผนที่เขียนไวในแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ
หน่วยผีเสื้อ (สอนโดย : นายวริมตร สุภาพ :
กิจกรรมเสริมประสบการณ์)
การสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์วันนี้ไม่มีข้อเสนอแนะผ่าน
(สอนโดย
:
นาวสาวดวงกมล คันตะลี :
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ)
การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวครูต้องบอกว่าผีเสื้อกัดกินใบไม้ทำให้เสียหาย ไม่ถึงกับการทำลายธรรมชาติ แต่อาจทำให้พืชผักเสียหายและจะทำให้พืชผักราคาลดลงลงในท้องตลาดได้
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
และอธิบายขั้นตอนต่างๆในการสอนกิจกรรมเสร้มประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่ถูกต้องและถูกวิธี การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด อาจจะบูรณาการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภาษา และความคิดสร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา
ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์ และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย
ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี
และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก
และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา อาจารย์สอนดีมาก
อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)