Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน
วันที่  25  เมษายน  2559
ครั้งที่  17  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

ความรู้ที่ดีรับในวันนี้


การวิเคราะห์ผลกระทบที่เด็กไม่สงบ  มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของตัวเขาเองและเพื่อน  ในกรณีที่เขาไม่สงบหรือพาดพิงกับเพื่อนทำให้เด็กเองนั้นไม่สามารถเกิดการเรียนรู้เองได้  เพราะการเรียนรู้นั้นมาจากประสบการณ์สำคัญ  แต่เด็กไม่มีประสบการณ์สำคัญเนื่องจากเพื่อนรอบตัวไม่นิ่งและเล่น  ผลกกระทบที่เด็กไม่สงบทำให้เราไม่สามารถสอนได้เต็มที่ตามแผนการจัดประสบการณ์  ทำให้เด็กได้รับการเรียนรู้ไม่เต็มที่  ครูผู้สอนเองต้องรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวเด็กมาจากรายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู  ว่าในแต่ละปัญหามีทางแก้อย่างไร
เคลื่อนไหวและจังหวะต้องทำให้สูงกว่ามาตรฐาน  แต่มาตรฐานขั้นต่ำเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหว
        การสอนแบบ PROJECT APPROACH  ในการสอน 2 สัปดาห์ในการสอน  3 ระยะ
ระยะที่ระยะเริ่มต้นโครงการ  > การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะเรียน 
ระยะที่ระยะพัฒนาโครงการ  > ประสบการณ์เดิมโดยให้เด็กวาดภาพ  กิจกรรมที่เด็กอยากทำ  การกำหนดปัญหาที่อยากจะศึกษา การทำกิจกรรมให้ทำกิจกรรมที่เด็กอยากทำ  ในกิจกรรมที่เด็กกำหนดเองในระยะพัฒนาโครงการ  และแหล่งเรียนรู้ไปร้านไข่  เพื่อให้เด็กรู้ว่าไข่มาจากไหน  ไข่มีกี่ประเภท  ไข่ทำให้เกิดอาชีพ  และวิธีการแปรรูปไข่
        ระยะที่ระยะสรุปโครงการ  > เด็กสรุปโครงการด้วยการนำเสนอโครงการ  กำหนดหน้าให้เด็กว่าใครทำหน้าที่อะไร  นำเสนอผลงานโครงการ  หรือการทำ MINI  PROJECT  การทำสารนิทัศน์เคลื่อนที่

สอบสอนการจัดประสบการณ์
1.หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นางสาวสุนิสา  บุดดาราม)


        ครูต้องบอกทีละขั้นตอน  ครูต้องลักษณะนามให้ถูกต้อง  อัตราส่วนต่างๆของส่วนผสมของเครื่องปรุงบอกให้ชัดเจน  ว่าใช้เป็นกี่ช้อน  กี่แก้ว  กี่ถ้วย  เด็กจะได้บูรณาการเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์  ครูควรถามเด็กในขณะที่นำวัสดุอุปกรณ์มาให้เด็กดู  ควรตั้งคำถามด้วยปลายเปิด  เด็กๆทายซิค่ะ  ภายในผ้าผืนนี้มีอะไรค่ะ”  เพื่อให้เด็กได้ตอบคำถามเด็กก็ตอบแตกต่างกัน  เพราะเด็กแต่ละคนมีความคิดไม่เหมือนกัน  แล้วเราค่อยเฉลย  หลังจากนั้นครูค่อยเอาวัตถุดิบอุปกรณ์ออกมาให้เด็กดูทีละชิ้นแล้วถามเด็ก  เพื่อให้เด็กเกิดการคิด  วิเคราะห์  เช่น  เอาเห็ดออกมา  เด็กๆค่ะ นี่อะไรค่ะ”  เมื่อนำของออกมาให้เด็กดูหมดแล้วครูตั้งปัญหาโดยการตั้งคำถามปลายเปิด  เด็กๆคิดว่าเห็ดจะทำเป็นอาหารอะไรได้บ้างค่ะเด็กก็จะตอบถามของครู  หลังจากนั้นให้ครูแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน  โดยกำหนดดังนี้
        กลุ่มที่ ให้วาดภาพ
        กลุ่มที่ ล้างเห็ด  พักเห็ดไว้ให้สะเด็ดน้ำ
กลุ่มที่ ผสมแป้ง และส่วนผสมเครื่องปรุงต่างๆ
        กลุ่มที่ ทอดเห็ดทอดกรอบ  ครูตั้งคำถามเพื่อให้เด็กเกิดการคาดคะเน  เห็ดชุบแป้งทอดในน้ำมันร้อนๆ  จะเกิดอะไรขึ้นค่ะเด็กๆ”  เป็นการบูรณาการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การทดลองเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต  สรุป  เห็ดที่เด็กๆทอดเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างค่ะ”  เมื่อเสร็จสิ้นทุกอย่าง  หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอข้อมูล  โดยการนำเสนอกราฟแสดงผล  โดยกิจกรรมทั้ง 4 กลุ่มให้หมุนเวียนกันทำกิจกรรมให้ครบทุกฐาน  ส่วนกลุ่มทอดเห็นครูต้องจัดเตรียมเห็ดชุบแป้งทอดเอาไว้ให้เด็ก

2.หน่วยส้ม  (สอนโดย : นางสาวนฤมล เส้งเซ่ง)

        แก้ไขแผนเคลื่อนไหว  ไม่ต้องเขียนว่าเคลื่อนไหวตามจินตนาการ  แล้วสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว  กิจกรรมพื้นฐานจะต้องเคาะให้ชัดเจน  และการบอกคำสั่งต้องจัดเจนมากกว่านี้ถ้าบอกคำสั่งไม่ชัดเจนจะทำให้เด็กงงกับคำสั่งที่ครูสั่ง  กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหาควรให้คำสั่งก่อนค่อยเคาะการเคาะกิจกรรมสัมพันธ์เนื้อให้เชื่อมโยงเหมือนการเคาะกิจกรรมพื้นฐานก่อนค่อยบอกคำสั่งเด็ก  เมื่อบอกคำสั่งเด็กเสร็จแล้วให้เคาะในจังหวะของกิจกรรมพื้นฐานอีกรอบแล้วค่อยให้คำสั่ง  ทำอย่างนี้หมุนเวียนให้ครบทุกมุม  แล้วค่อยเคาะจังหวะของกิจกรรมพื้นฐาน  แล้วคค่อยต่อด้วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนดารสอนให้ถูกต้องตามลำกับ  และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ  และสามารถคิด  วิเคราะห์ได้  จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุด

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน

ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหว  สอนและให้ความรู้เพื่อนเกี่ยวกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแก่ (นางสาวนฤมล  เส้งเซ่ง)
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์
ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  ทุกคำพูดที่ใช้มีความสำคัญทุกคำถามที่ถามเด็กเกิดการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น