Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วันที่  18  เมษายน  2559
ครั้งที่  16  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

ความรู้ที่ดีรับในวันนี้
        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาสอบสอนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนที่สอนในวันศุกร์  อาจารย์ให้คำแนะนำต่างๆในการจัดประสบการณ์ของเพื่อนมีข้อที่จะต้องแก้ไขต่างๆในการจัดประสบการณ์

สอบสอนการจัดประสบการณ์
หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นางสาวประภัสสร หนูสิริ)



        การสอนสอนคนละทางไม่สอดคล้องกับความปลอดภัยและข้อควรระวังต้องคาดเข็มขัดนิรภัย  ถ้านั่งบนเรือต้องนั่งให้เรียบร้อยแล้วใส่เสื้อชูชีพ  ไม่ดื่มเหล้าดื่มของมึนเมาขณะขับรถ  การขับรถต้องจำกัดความเร็วในการขับขี่  นิทานที่เล่าต้องเล่าให้สอดคล้องกับความปลอดภัยและข้อควรระวังในการขับขี่  ครูควรใช้คำถามคำถามปลายเปิด  เด็กๆลองบอกครูซิว่า  ถ้าเราขับรถข้างทางรถไฟเราต้องทำอย่างไร  ต้องรอดูสัญญาณก่อนค่อยขับรถผ่านไป”  ถ้าเราขับรถถึงสี่แยก  เราต้องทำอย่างไร  ครูต้องสอนและสอดแทรกเด็กในการเท่านิทานว่าเราขับรถต้องมีใบขับขี่  ต้องรู้กฏจราจร  เวลาขับขี่ต้องขาดเข็มขัดนิรภัย  ต้องรู้ว่าเมื่อถึงสี่แยกไฟเราต้องควรทำอย่างไร  ต้องถามเด็กๆ  ว่า  สัญญาณไฟแดง  สัญญาณไฟเขียว  สัญญาณไฟเหลือง  หมายถึงอะไรให้สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับความหมายของสัญญาณไฟไปในนิทาน  เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้

หน่วยส้ม  (สอนโดย : นางสาวบุษราคัม  สารุโณ)


        การสอบสอนของกลุ่มส้ม  เป็นการจัดประการณ์การประกอบอาหาร  การทำ น้ำส้มคั้นในแผ่นชาร์ตให้แยกวัตถุดิบ  อุปกรณ์  และวิธีการทำแยกออกให้ชัดเจน  ส้มควรจัดให้อยู่ในวัตถุดิบ  ไม่ใช่อุปกรณ์  ให้แจกแจงรายละเอียดวัตถุดิบให้เรียบร้อย  ส้มกี่ลูก  เกลือเท่าไหร่  ให้บอกรายละเอียดของวัตถุดิบให้ละเอียดเพื่อเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์
        ขั้นนำ  ให้ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น  แล้วให้เด็กตอบ  เช่น  เด็กๆค่ะนี่อะไรค่ะ”  ถ้าเด็กตอบไม่ได้ครูต้องบอกให้เด็กได้รู้  เมื่อแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์หมดทุกอย่างแล้ว
        ขั้นสอน  :  ครูเปิดประเด็นคำถาม  วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ”  เด็กก็จะเกิดการคิด  วิเคราะห์  เด็กก็ตอบคำถามของครูที่แตกต่างกัน
        แบ่งกลุ่มให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มละเท่าๆกัน  โดยแบ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการทำกิจกรรม  ใครจะหั่น  ใครจะคั้น  ใครจะใส่เกลือ และน้ำตาลเชื่อม  ให้เด็กแบ่งหน้าที่กันเองในแต่ละกลุ่ม ครูเป็นคนแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ  โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  ดังต่อไปนี้
        กลุ่มที่  ให้วาดภาพ
        กลุ่มที่  หั่นส้ม  (ให้เด็กหั่นส้มออกเป็น 2 ส่วน โดยการหั่นเป็นครึ่งลูก)  บูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์
กลุ่มที่  นำส่วนผสมลงในน้ำส้ม  เช่น  เกลือ  น้ำเชื่อม  เด็กๆคิดว่าเมื่อนำเกลือและน้ำเชื่อมมาผสมกับน้ำส้มคั้นจะเกิดอะไรขึ้นค่ะ”  เพื่อบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์
        กลุ่มที่  น้ำส้ม
        ขั้นสรุป : ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองและให้เด็กอธิบายวิธีการทำน้ำส้มคั้นอย่างเป็นขั้นตอน  เมื่อนำเสนอผลงานเสร็จให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย

หน่วยกล้วย  (สอนโดย : นางสาวสุธิดารัตน์  เกิดบุญมี)


        การสอบสอนของกลุ่มกล้วย  เป็นการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารการทำ  กล้วยเชื่อม”  ในแผ่นชาร์ตให้แยกวัตถุดิบ  อุปกรณ์  และวิธีการทำแยกออกให้ชัดเจน  และบอกสัดส่วนอัตราสัดส่วนของวัตถุดิบและส่วนผสมให้ชัดเจน  เช่น  กล้วย 1 ลูก แบ่งออกเป็น4 ส่วน   น้ำตาลทรายกี่ช้อน  น้ำหวานกี่แก้ว  น้ำเปล่ากี่ถ้วยตวงเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์
        การบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์  แนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบ  และวิธีการใช้อุปกรณ์  โดยครูเปิดประเด็นการตั้งคำถามว่า  กล้วยเราจะนำมาทำของหวานได้อย่างไร
        การตั้งสมมติฐาน > “ถ้าครูเอากล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อ  เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นแล้วทำการทดลอง  เพื่อให้เด็กได้สังเกต
        สาระที่ควรเรียนรู้ > กล้วยสามารถนำมาประกอบอาหารประเภทของหวานได้  เช่น  กล้วยเชื่อม  โดยมีวิธีการทำดังต่อไปนี้  เราก็อธิบายวิธีกรทำลงไป


หน่วยเสื้อ  (สอนโดย : นางสาวดวงกมล  คันตะลี)


        การสอบสอนของกลุ่มผีเสื้อ  เป็นการจัดประการณ์การประกอบอาหาร  การทำ ขนมปังปิ้งรูปผีเสื้อการเขียนแผ่นชาร์ตแยกวัตถุดิบ  อุปกรณ์  วาดภาพประกอบและวิธีการทำแยกออกได้ชัดเจน
        ขั้นนำ  ให้ครูนำวัตถุดิบและอุปกรณ์ออกมาทีละชิ้น  แล้วให้เด็กตอบ  เช่น  เด็กๆค่ะนี่อะไรค่ะ”  โดยการให้เด็กแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์  ถ้าเด็กตอบไม่ได้ครูต้องบอกให้เด็กได้รู้  เมื่อแนะนำวัตถุดิบและอุปกรณ์หมดทุกอย่างแล้วให้เข้าสู่ขั้นสอนต่อไปได้
        ขั้นสอน  :  ครูเปิดประเด็นคำถาม  วัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ครูนำมาวันนี้สามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ”  เด็กก็จะเกิดการคิด  วิเคราะห์  เด็กก็ตอบคำถามของครูที่แตกต่างกัน
        แบ่งกลุ่มให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่มละเท่าๆกัน  โดยแบ่งหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการทำกิจกรรม  ให้เด็กแบ่งหน้าที่กันเองในแต่ละกลุ่ม ครูเป็นคนแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ  โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม  ดังต่อไปนี้
        กลุ่มที่  ให้วาดภาพรูปผีเสื้อ
        กลุ่มที่  กลุ่มทาเนย
กลุ่มที่  กลุ่มปิ้งขนมปัง  ครูตั้งประเด็นปัญหาเราจะทำอย่างไรให้ขนมปังมันร้อน”  เพื่อบูรณาการทักษะทางวิทยาศาสตร์  แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสังเกตจากการทดลองปิ้งขนมปัง  เมื่อนำขนมปังไปปิ้งแล้วจะเกิดอะไรขึ้น”  # เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนมปัง  ขนมปังเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและกรอบ
        กลุ่มที่  วาดรูปผีเสื้อด้วยซอสช็อกโกแลตตกแต่งบนหน้าขนมปัง
        ขั้นสรุป : ให้เด็กนำเสนอผลงานของตนเองและให้เด็กอธิบายวิธีการทำขนมปังปิ้งอย่างเป็นขั้นตอน  เมื่อนำเสนอผลงานเสร็จให้เด็กแต่ละกลุ่มเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างถูกต้องตามลำกับ  และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ภาษา  และความคิดสร้างสรรค์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ  และสามารถคิด  วิเคราะห์ได้  จะบูรณาการาสอนที่เน้นคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มากที่สุดเพื่อให้เด็กสามารถคิด  วิเคราะห์ได้ในการเรียนระดับชั้นต่อไป

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์พฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นพฤติกรรมที่เพื่อต้องปรับปรุงมากที่สุด  การที่มีผู้พูดจะต้องมีผู้ฟังที่ดีด้วย
ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  ทุกคำพูดที่ใช้มีความสำคัญทุกคำถามที่ถามเด็กเกิดการเรียนรู้  การพูดของอาจารย์เป็นการสอนที่มีค่าสำหรับนักศึกษาในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น