Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่  15  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .

ความรู้ที่ดีรับในวันนี้
        วันนี้อาจารย์ขอตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของนักศึกษาทุกกลุ่ม  และอาจารย์ข้อเสนอแนะและคำแนะนำต่างๆในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์  ครูต้องมีเทคนิคในการสอนและวิธีการจับกลุ่มของเด็ก  เช่น  เช่นรถจักรยานยนต์ชนรถตุ๊กตุ๊กแล้วก็นับรวมกันได้  หรือว่าไปซื้อไก่ที่ตลาด 2 ตัว  นับได้กี่ขา  เด็กจะจับกลุ่มจำนวนของขาไก่  เป็นวิธีการช่วยเหลือตนเองในขณะที่สอน  เพื่อไม่ให้เด็กชนกันในขณะที่ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  แล้ววันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มในวันจันทร์ออกมาสอบสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  และอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะต่างๆจากการสอนของเพื่อนดังต่อไปนี้

หน่วยยานพาหนะ  (สอนโดย : นาวสาวอารียา  เอี่ยมโพธิ์)

       การเคลื่อนตามคำบรรยาย  คำบรรยายที่ครูบรรยายให้ใส่ลงไปในภาคผนวกด้วย  ครูให้เด็กได้เคลื่อนไหวด้วยกิจกรรมพื้นฐานก่อน  เพื่อเปรียบเทียบกับจังหวะช้า-เร็ว  จังหวะปกติ  การเคลื่อนไหวของเด็กอนุบาล 1 ให้อธิบายการเคาะจังหวะด้วย  แต่ถ้าอนุบาล 2 ไม่ต้องอธิบายการเคาะ  เพราะครูให้ทำตามทีละขั้นของการเคลื่อนไหวอยู่แล้ว  การวิ่งและการหยุดนิ่งอยู่กับที่คือการเตรียมความในเรื่องของการทรงตัวของเด็ก  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไม่ควรทำกิจกรรมเกิด  20 นาที  เพราะมันนานและทำให้เด็กเกิดความน่าเบื่อ

หน่วยผัก  (สอนโดย : นาวสาวนิศากร  บัวกลาง)

       การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะต้องคำนึงถึงหลังความเป็นจริงเสมอว่าผักเคลื่อนที่ไม่ได้  ครูต้องหาวิธีการให้ผักสามารถเคลื่อนที่ได้  เช่น  ให้เด็กไปขายผักที่ตลาด  โดยการให้เด็กถือผักไปขายที่ตลาด  เด็กก็จะมีวิธีการถือผักที่แตกต่างกัน  โดยครูอาจบอกว่า  ถ้าครูไม่ให้เด็กๆใช้มือถือผักเด็กๆจะมีวิธีอย่างไรในการถือผักไปตลาด”  เช่น  เด็กอาจจะหนีบ  คาบ  เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ  และครูต้องสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ให้ตรงกับแผน

หน่วยผีเสื้อ  (สอนโดย : นาวกัตติกา  สะบานงา)

       การสอนเคลื่อนไหวของกลุ่มผีเสื้อ  การเคลื่อนไหวแบบความจำ  ครูต้องฝึกและรู้จักวิธีการเคาะที่หลากหลาย  และให้เด็กได้ทำตามข้อตกลงที่ครูได้บอกไว้ก่อนการปฏิบัติกิจกรรม

หน่วยเห็ด  (สอนโดย : นาวสาววรรวิภา  โพธิ์งาม)

       การสอนเคลื่อนไหวของกลุ่มเห็ดต้องฝึกการเคาะให้เป็นจังหวะ  และฝึกการเคาะที่ให้มีความหลากหลาย  ถ้าให้เด็กเต้นต้องให้เด็กเต้นตามจินตนาการ  ครูไม่จำเป็นต้องทำท่าทางให้เด็กทำตามหรือทำให้เด็กดูก่อนเพราะเด็กไม่ได้เกิดจินตนาการหรือความอิสระ  ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดอย่างอิสระโดยการสลับกัน  โดยแบ่งเป็นกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้เสนอแนะในการสอนของเพื่อนในการจัดประสบการณ์  ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  และบูรณาการสอนคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  และภาษา  ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ต่างๆ  และสามารถคิด  วิเคราะห์ได้  ข้อเสนอแนะของอาจารย์จะเกิดประโยชน์เมื่อนำไปพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอบสอนของนักศึกษาทุกคน  เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและนำไปใช้ในการสอนให้เกิดประโยชน์

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
-
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  และเป็นเด็กให้แก่เพื่อนในการสอบสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการสอนของเพื่อนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูเพื่อนสอบสอนเป็นอย่างดี  และให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการเป็นเด็ก  และฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์  มีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่คุยและไม่ฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะหลังการสอนได้เป็นอย่าดีเป็นแนวทางในการปรับใช้แก่นักศึกษา  อาจารย์สอนดีมาก  อาจารย์อธิบายเป็นขั้นตอนการในการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เข้ามากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น