Welcome to the blogger of Mr.Worramit Supap doctorate in early childhood education course on LEARNING EXPERIENCES MANAGEMENT IN EARLY CHILDHOOD .

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วันที่  8  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  5  เวลาเรียน  14.30 – 17.30 .
 

ความรู้ที่ดีรับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ตรวจ แผ่นชาร์ต  MIND MAP  ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายตามหัวข้อหน่วยการเรียนรู้  และพร้อมคำแนะนำในการปรับปรุงจากอาจารย์

1 หน่วยผีเสื้อ
        อาจารย์ให้กลุ่มผีเสื้อปรับเกี่ยวกับ  วงจรชีวิตของผีเสื้อ  อาหาร  และการเจริญเติบโต  ที่อยู่อาศัย  และยารักษาโรคให้อยู่รวมกันสอนในวันพุธ

2 หน่วยผัก
        การเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของผักมาจากไหน  เช่น  มาจากเมล็ด  มาจากหัว  มาจากกิ่ง  และการเขียนประโยชน์ในหน่วยผัก  ต้องเขียนให้เห็นทั้ง  2 ประเด็นที่ชัดเจน
1.    พูดถึงประโยชน์ของผัก
2.    พูดเกี่ยวกับประโยชน์ของผักที่มีต่อโลกใบนี้
ประโยชน์และโทษมีให้เด็กเห็นทุกอย่างบนโลกนี้  ว่าผักมีทั้งคุณประโยชน์และโทษ

3 หน่วยกล้วย
        หัวข้อไหนที่ไม่สามารถแยกประเภทได้  ไม่ต้องแยก  ส่วนประกอบของกล้วยให้ระบุให้ชัดเจนกล้วยต้องมีเปลือก  มีเนื้อ  มีเม็ด  การถนอมอาหาร  เช่น  กล้วยต้ม  กล้วยตาก  กล้วยเชื่อม  ที่เป็นแปรรูปอาหารถนอมอาหารให้สามารถอยู่ได้นาน  การดูแลรักษากล้วย  หรือการเลือกซื้อกล้วย

4 หน่วยเห็ด
        ให้แยกประเภทของเห็ดเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
1.    เห็ดที่กินได้
2.    เห็ดที่กินไม่ได้
การขยายพันธุ์ของเห็ด  การดำรงชีวิตของเห็ด  เป็นจุดเด่นของตัวเห็ด  ข้อควรระวัง  ถ้าเห็ดที่กินไม่ได้จะเกิดอาการ  คลื่นไส้  ตัวเหลือง  หมดแรง  และต้องไปพบแพทย์โดยด่วน  หากรับประทานเห็ดที่มีพิษมากๆอาจมีอันตรายถึงชีวิต  ครูสอนเห็ดที่เป็นพิษแล้วห้ามกิน  เมื่อเด็กๆเห็นเห็ดให้นำไปให้ผู้ใหญ่ดูก่อนว่าเห็ดหินได้ไหม  กลิ่นของเห็ดครูต้องบอกกลิ่นให้ชัดเจน  ว่ามีกลิ่นอย่างไร  เช่น  เหม็น  เหม็นสาบ  หรือเหม็นเปรี้ยว

5. หน่วยยาพาหนะ
        ให้แยกประเภทของยานพาหนะให้ชัดเจน  เช่น
        ยานพาหนะทางน้ำ  ได้แก่  เรือดำน้ำ  แพ  เรือยอร์ช  เป็นต้น
        ยานพาหนะทางบก  ได้แก่  รถยนต์  รถเมล์  รถจักรยานยนต์  รถไฟ เป็นต้น
        ยานพาหนะทางอากาศ ได้แก่  เครื่องบิน เป็นต้น
การดูแลรักษายานพาหนะ  เช่น  การตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทาง  คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง  เป็นต้น  ครูสอนต้องการสอนเรื่องอะไรเด็ก  เด็กก็ต้องได้รับความรู้เรื่องนั้นเสมอ

6 หน่วยส้ม
        การเขียน MIND MAP  เรียงลำดับการสอนผิด  ต้องเขียนชนิดของส้มก่อนเป็นอันดับแรกโดยการวนจากขวาไปซ้าย  เพิ่มหัวข้อวิธีการเลือกซื้อกับการถนอมส้มออกมาอีกหัวข้อ  การประกอบอาหารให้แยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์  และการแปรรูปให้แยกย่อยออกมาจากหัวข้อประโยชน์

สาระที่ควรเรียนรู้
        ครูต้องเขียนออกมาให้เห็นอย่างขัดเจนว่าสาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กคืออะไร  เช่น  ผีเสื้อมีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ผีเสื้อกระท้อน , ผีเสื้อเจ้าป่าปีกพู่ , ผีเสื้อไผ่ลายธรรมดา , ผีเสื้อหนอนมะนาว เป็นต้น  เป็นส่วนสรุปว่าสิ่งที่เด็กเรียนคือผู้เสื้อ
สาระที่ควรเรียนรู้
        สิ่งที่เด็กได้ทำแล้วทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้  ต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ หรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  คือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ครูต้องจัดวิธีการเรียนรู้ของเด็กให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กอยู่เสมอ  พัฒนาการเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง  เมื่อเลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กแล้วครูต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  เมื่อเด็กได้ลงมือกระทำ  โดยเด็กมีโอกาสเลือกที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง  เด็กจะมีความสุขและอิสระในการเรียนรู้  การเล่นด้วยตนเอง  การตัดสินใจด้วยตนเอง  การลงกระทำหรือปปฏิบัติด้วยตนเอง  การเล่นคือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เพื่อที่ปรับให้เข้ากับเพื่อน  และกับผู้อื่นในสังคมเพื่อที่จะให้เด็กอยู่รอดในสังคมอย่างมีความสุข  ซึ่งประสบการณ์สำคัญจะต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ไปพร้อมกัน ดังนี้
1.    ด้านร่างกาย
2.    ด้านอารมณ์ จิตใจ
3.    สังคม
4.    สติปัญญา
กรอบพัฒนาการเด็กและกิจกรรม
        ครูต้องศึกษาจากเล่มหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
การบูรณาการทักษะและรายวิชาต่างๆ
        รายวิชาต่างๆที่ครูต้องบรูณาการการสอนควบคู่กับการจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1.    คณิตศาสตร์  เรขาคณิต  รูปทรง  รูปร่าง  การแยกแยะ  เรียงลำดับ  นับจำนวน  จัดกลุ่ม  พีชคณิต  แบบรูป  การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆและการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิ  หรือกราฟ
2.    วิทยาศาสตร์ >  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่
ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation) 
ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement) 
ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) 
ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation) 
ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number) 
ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication) 
ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction) 
ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) 
ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation) 
ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) 
ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making) 
3.    พละศึกษา/สุขศึกษา  > การรักษาความสะอาด  หลังจากธรรมกิจกรรม
4. ศิลปะสร้างสรรค์  > ประดิษฐ์จรวดแล้วโยน  แล้วใช้ฝามือในการวัดว่าใครใช้ฝามือวัดได้เยอะมากที่สุดคนนั้นชนะ
5. ภาษา > เขียนภาพ  ธนาคารคำ  การร้องเพลง    การท่องคำคล้องจอง  การสนทนากับเพื่อนและคุณครู
WEB 6 กิจกรรมหลัก
        การเขียนเรียงลำดับตามจันจันทร์-ศุกร์  โดยต้องให้สอดคล้องกับแผนการจัดประสบการณ์
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        กิจกรรมพื้นฐาน  การเดิน  วิ่ง  กระโดด  ควบม้า  ครูสามารถให้เด็กได้เดินที่แตกต่างกันอาจจะเกิดด้วยปลายเท้า  ส้นเท้า  ด้านข้างของเท้า  เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย  ครูอาจเคาะให้เด็กเปลี่ยนท่าทางการเดินที่หลากหลาย  และให้เด็กได้เดินอย่างอิสระและตามจินตนาการของตนเอง  และให้เด็กมีอิสระในการปฏิบัติกิจกรรม
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        ห้ามใช้ป้ายนิเทศเป็นสื่อการสอน  ขั้นนำให้ใช้เพลงหรือคำคล้องจอง  ครูอาจนำของมาให้เด็กดูให้เด็กได้ร่วมทาย  แล้วมาพิสูจน์กันโดยการให้เด็กร่วมนับทีละ 1 ชิ้น  จนหมด  หลังจากนั้นให้แยกตามประเภท  สิ่งที่ใช่ผีเสื้อกระท้อน กับไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อน  แล้วให้เด็กนำตัวเลขแทนค่า  แล้วให้เด็กหยิบออกทีละคู่  โดยหยิบจากอันแรก  เสร็จแล้วถามเด็กว่าผีเสื้อกระท้อนกับไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนผีเสื้อไหนหมดก่อนกัน  ผีเสื้อไหนหมดก่อนแปลว่าผีเสื้อนั้นมีจำนวนน้อยที่สุด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
        กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  การวาดภาพระบายสี  การปั้น เป็นสิ่งที่ได้ทำทุกวันอยู่แล้ว  การทำสมุดเล่มเล็ก  โดยการให้เด็กได้วาดภาพและบรรยายใต้ภาพ
เกมการศึกษา
        เป็นกิจกรรมที่เสริมทักษะการคิดของเด็กในทุกๆวัน  เช่น  เกมจับคู่ภาพเหมือน  เกมจับคู่ที่มีความสัมพันธ์กัน  เป็นต้น

การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้ให้ในการเขียนแผน  และแก้ไขแผนการจัดประสบการณ์ของตนเอง  อาจารย์ข้อแนะนำและข้อแก้ไขในการเขียนแผนทุกๆกลุ่มเป็นแนวทางในการเขียนแผนให้ถูกต้อง  จะนำความรู้ที่อาจารย์ได้ให้ไปใช้ในการเขียนจัดประสบการณ์การสอนของเด็กปฐมวัย  และการจัดประสบการณ์ที่สอดแทรกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ภาษา และความคิดสร้างสรรค์  เพื่อให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และการสอดแทรกความรู้ในแผนการจัดประสบการณ์ต่างๆ

ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ให้ความรู้โดยการบรรยายและให้รายละเอียดการเขียนแผนเป็นอย่างดี  อาจารย์ให้ความรู้ในการบูรณาการรายวิชาต่างๆเข้าสู่การจัดประสบการณ์การเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย  เพื่อให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการต่างๆ  และการเขียนสาระที่ควรเรียนรู้จะต้องเขียนอย่างไรให้ถูกต้อง

การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1.  อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
        2.  เครื่องฉายภาพ
3.  โปรแจคเตอร์
4.  POWER POINT

การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย  มาเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังอาจารย์ในการบรรยายให้ความรู้ของอาจารย์  และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามของอาจารย์  มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์ในการให้ความรู้  เพื่อนฟังการบรรยายและให้ความรู้จากอาจารย์เป็นอย่างดี  มีการถามคำถามที่ข้องใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ประเมินอาจารย์
อาจารย์บรรยายและให้ความรู้นักศึกษาเป็นอย่างดี  ถามคำถามนักศึกษาเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษา  อาจารย์ให้คำปรึกษานักศึกษาในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น