บันทึกอนุทิน
วันที่ 25 มกราคม 2559
ความรู้ที่ดีรับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ แนวการจัดประสบการณ์การศึกษาปฐมวัยของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในการนำเสนอ ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มของนักศึกษาได้รับมอบหมาย
แนวการสอบแบบมอนเตสซอรี่เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยถือว่ามือทั้งสองข้างเป็นครูที่สำคัญ เพราะเมื่อสองมือได้จับต้องสิ่งต่างๆ สมองก็จะเกิดการเรียนรู้
แนวการสอนนี้จะเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถเรียนการอ่าน การเขียน
และคำนวณโดยวิธีที่เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับหัดเดินและหัดพูด
การสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori)
การสอนแบบมอนเตสซอรี่ จึงเป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับบริบททางสังคมไทยและช่วยลดขัดแย้งในสังคมลงไปได้ในเรื่องการสอนเด็กปฐมวัย เพราะมีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจน เป็นการสอนรายบุคคลโดยมีอุปกรณ์ต่างๆ
ที่เตรียมความพร้อมในการเรียนทุกๆรายวิชาให้เด็กได้เรียนรู้ก่อนที่จะก้าวไปสูการอ่าน เขียน
คิดเลข
หลักการแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ มีหลักการที่สำคัญ 5
ประการ ดังนี้
1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
(Respect For the Child)
มอนเตสซอรี่เชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เราจึงต้องยอมรับเด็กในลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน
2. เด็กมีจิตที่ซึมซาบได้ (Absorbent Mind)
มอนเตสซอรี่เปรียบเทียบจิตของเด็กเหมือนฟองน้ำ ที่จะซึมซาบข้อมูลจากประสบการณ์
3. ช่วงเวลาหลังของชีวิต (Sensitive
Period)
ช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ไม่ใช่ช่วงมหาวิทยาลัย แต่เป็นช่วยแรกเกิด ถึง 6
ขวบ
เป็นช่วงเวลาของการพัฒนาสติปัญญา บุคลิกภาพ
และทักษะต่างๆ
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม
(Prepared Environment)
มอนเตสซอรี่เชื่อว่าเด็กเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่ได้เตรียมเอาไว้อย่างดี
5. การศึกษาด้วยตนเอง (Self or Auto-Education)
เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในสิ่งแวดล้อมที่จัดเอาไว้อย่างสมบูรณ์
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชาดังนี้
1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต (Practical Life Exercises)
เน้นการฝึกการช่วยเหลือตนเอง การดูแลกิจวัตรประจำวัน และ การดูแลสิ่งแวดล้อมฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการประสานสัมพันธ์ตาและมือ พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ฝึกสมาธิ และระเบียบวินัย และช่วยเชื่อมโยงเด็กระหว่างบ้านกับโรงเรียน
2. กลุ่มประสาทสัมผัส (Sensorial Exercises)
เน้นการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้งห้า ฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ รู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงานด้วยตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะได้สำรวจค้นหาและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อันจะเป็นการเปิดเส้นทางสู่การเรียนรู้
3. กลุ่มวิชาการ (Academic Introduction)
มุ่งฝึกพื้นฐานที่ถูกต้องในการเรียนภาษาและคณิตศาสตร์ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่เป็นสื่อในการเรียนรู้ เช่น ฝึกเขียนจากประสาทสัมผัสโดยการใช้ตัวอักษรกระดาษทราย เป็นต้น
1. กลุ่มประสบการณ์ชีวิต (Practical Life Exercises)
เน้นการฝึกการช่วยเหลือตนเอง การดูแลกิจวัตรประจำวัน และ การดูแลสิ่งแวดล้อมฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการประสานสัมพันธ์ตาและมือ พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง ฝึกสมาธิ และระเบียบวินัย และช่วยเชื่อมโยงเด็กระหว่างบ้านกับโรงเรียน
2. กลุ่มประสาทสัมผัส (Sensorial Exercises)
เน้นการพัฒนาประสาทสัมผัสทั้งห้า ฝึกฝนให้เป็นคนช่างสังเกต ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ รู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำงานด้วยตนเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ เด็กจะได้สำรวจค้นหาและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อันจะเป็นการเปิดเส้นทางสู่การเรียนรู้
3. กลุ่มวิชาการ (Academic Introduction)
มุ่งฝึกพื้นฐานที่ถูกต้องในการเรียนภาษาและคณิตศาสตร์ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นตอนจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม โดยใช้อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่เป็นสื่อในการเรียนรู้ เช่น ฝึกเขียนจากประสาทสัมผัสโดยการใช้ตัวอักษรกระดาษทราย เป็นต้น
การจัดชั้นเรียนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดชั้นเรียนแบบมอนเตสซอรี่เป็นชั้นเรียนแบบคละอายุ เพื่อเป็นการจำลองบรรยากาศของบ้าน โดยมุ่งหวังให้เด็กรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พี่จะมีโอกาสช่วยเหลือและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้อง ขณะที่น้องก็จะมีโอกาสทำตามแบบอย่างของพี่ เป็นการฝึกทักษะการใช้ชีวิตในสังคมที่บุคคลมีความแตกต่างกัน
การจัดชั้นเรียนแบบมอนเตสซอรี่เป็นชั้นเรียนแบบคละอายุ เพื่อเป็นการจำลองบรรยากาศของบ้าน โดยมุ่งหวังให้เด็กรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พี่จะมีโอกาสช่วยเหลือและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับน้อง ขณะที่น้องก็จะมีโอกาสทำตามแบบอย่างของพี่ เป็นการฝึกทักษะการใช้ชีวิตในสังคมที่บุคคลมีความแตกต่างกัน
แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ
เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู
ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี
หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์
3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก
ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ
เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน
สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น
ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ
บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์
ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน
บทบาทครู
ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก
งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง
การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก
ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก
ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ
กลุ่มที่ 3 แนวการสอนแบบโครงการ Project Approach
การสอนแบบโครงการ
Project Approach เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัส
และการลงมือปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้ในลักษณะที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
เรียนรู้แบบเด็กสร้างองค์ความรู้ ด้วยกระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ
และเด็กสรุปความรู้ด้วยตนเอง
เด็กจะได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งค้นคว้าที่หลากหลายตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจ
การสืบค้นข้อมูลดังกล่าวอาจทำเพียงคนเดียว หรือ อาจทำเป็นกลุ่มเล็กๆ
หรือทั้งชั้นร่วมกันทำเพื่อให้เกิดเป็นกระบวนการสืบค้นขึ้นมา
การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน
โดยให้เด็กได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจ สังเกต
และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาสืบค้น หาข้อมูล
ความรู้ที่จำเป็น และนำเสนอต่อสาธารณชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงาน
และประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้
ความคิดเห็นและสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมด
การสอนแบบโครงการจะมีกิจกรรม 5 วิธี
ในแต่ละระยะของการทำโครงการ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 5 วิธี ประกอบด้วย
วิธีการอภิปราย
ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก
และให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มย่อย
และกลุ่มใหญ่
1. วิธีการอภิปราย ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก
และให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับเพื่อนเป็นกลุ่มย่อย
และกลุ่มใหญ่
2. วิธีการศึกษานอกสถานที่ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการทำโครงการ
ในระยะแรก ครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน จะช่วยให้เด็กมีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้
ในหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ
โดยถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของการศึกษาค้นคว้า
3. วิธีการนำเสนอประสบการณ์เดิม
เด็กได้ทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่สนใจ มีการแสดงความคิดเห็น
อภิปรายประสบการณ์ที่เหมือนหรือต่างกันกับเพื่อนๆ
ตลอดจนแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวเรื่องนั้นๆ
ซึ่งเด็กสามารถเสนอประสบการณ์เดิมให้เพื่อนได้รู้โดยการวาดภาพ การเขียน
การใช้สัญลักษณ์ การเล่นบทบาทสมมุติ เป็นต้น
4. วิธีสืบค้น การสอนแบบโครงการ
เปิดโอกาสให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลที่หลากหลาย ตามหัวเรื่องที่สนใจ
โดยเด็กสามารถสอบถามจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลในครอบครัว เพื่อน
วิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ในหัวเรื่อง หรือสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด
5. วิธีการจัดแสดง สามารถทำในหลายรูปแบบ
อาจจัดเป็นป้ายแสดงผลงานของเด็ก การแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ต่างๆ
ที่ได้จากการสืบค้น
กิจกรรมทั้ง
5 วิธีที่กล่าวมาข้างต้น
จะปรากฏอยู่ในโครงการในระยะต่างๆ การสอนแบบโครงการ แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ : ทบทวนความรู้และความสนใจของเด็ก
1.1
สร้าง/สังเกตความสนใจของเด็ก
1.2 ครูและเด็กกำหนดหัวเรื่องโครงการ
1.2 ครูและเด็กกำหนดหัวเรื่องโครงการ
ระยะที่
2 พัฒนาโครงการ : ให้โอกาสเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
2.1
เด็กกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2.2 เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
2.3 ทดสอบสมมุติฐาน
2.4 เชิญวิทยากร
2.5 ตั้งสมมติฐานใหม่
2.6 เด็กทดสอบสมมุติฐานใหม่
2.7 เด็กสรุปข้อความรู้
2.2 เด็กตั้งสมมติฐานเบื้องต้น
2.3 ทดสอบสมมุติฐาน
2.4 เชิญวิทยากร
2.5 ตั้งสมมติฐานใหม่
2.6 เด็กทดสอบสมมุติฐานใหม่
2.7 เด็กสรุปข้อความรู้
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ : ประเมิน
สะท้อนกลับและแลกเปลี่ยนงานโครงการ
3.1
เด็กรวบรวมสรุป
3.2 เด็กสิ้นสุดความสนใจในหัวเรื่องโครงการ
3.3 เด็กนำเสนอผลงานโครงการ
สรุปได้ว่า การสอนแบบโครงการ คือ
การที่เด็กเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จากความสนใจของเด็กเอง อย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการ
การลงมือปฏิบัติ การใช้กระบวนการคิด และแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่นๆ
ด้วยตัวเด็กเอง จนค้นพบคำตอบและได้รับความรู้ที่ต้องการ ภายใต้การแนะนำช่วยเหลือ
ส่งเสริมและสนับสนุนของครู3.2 เด็กสิ้นสุดความสนใจในหัวเรื่องโครงการ
3.3 เด็กนำเสนอผลงานโครงการ
กลุ่มที่ 4 แนวการสอนแบบพหุปัญญา
การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด
หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว
ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว
เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์
และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น
ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น
เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด
การ์ดเนอร์ (Howard
Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน
แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี
พ.ศ. 2526
การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น
จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8
ด้าน ดังนี้
1.
ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ
ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา
และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence)คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล
การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี
สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์
ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น
จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก
เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic
Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด
ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์
ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต
และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา
หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ
และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง
สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง
เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น
ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี
เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ
ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง
สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์
รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ
มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง
ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ
มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ
มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ
เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก
ดังนี้
1.
แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด
เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2.
ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย
เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3.
ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ทฤษฎีพหุปัญญา
ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม
แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม
ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน
หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ
แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ
ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง
และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์
4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิคศาสตร์ (Mathematics) หมายถึง องค์ความรู้วิาการศาสตร์ทั้งสี่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้ ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Foundation : NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างอิงถึงโครงการหรือโปนแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิคศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป เช่น มีการใช้คำว่า STEM ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน
4
สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์
โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ
กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์
และคณิตศาสตร์
แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด
ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ
พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ
5 ประการได้แก่
1 เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
2 ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง
4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
3 เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
4 ท้าทายความคิดของนักเรียน
5 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น
และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา
จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
(Brain
based Learning: BBL)
Brain
Based Learning คือ
การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์
โดยเชื่อว่าโอกาสทองของการเรียนรู้อยู่ระหว่างแรกเกิด – 10 ปี
Regate
และ Geoffrey Caine นักวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับสมองเป็นหลัก
ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ
ดังต่อไปนี้
1.
สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน
สมองเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญที่สุดในร่างกายของคนเรา
เพราะการที่มนุษย์ สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้นั้นจะต้องอาศัยสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานของ
การรับรู้ รับความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ได้แก่ ตาทำให้เห็น หูทำให้ได้ยิน
จมูกทำให้ได้กลิ่น ลิ้นทำให้ได้รับรส และผิวกายทำให้เกิดการสัมผัส
แนวการจัดกิจกรรมการสอน
ครูจำเป็นต้องใช้กลวิธีและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองของนักเรียน
ไม่มีวิธีหรือเทคนิคของใครสมบูรณ์ที่สุด
ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้น
ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลนั้นมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความสามารถพื้นฐานของบุคคลนั้น
ๆ หรือ Style
การเรียนรู้มีหลายรูปแบบ โดยพบว่าห้องเรียนหนึ่ง ๆ
มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้อยู่ 4 รูปแบบ คือ นักทฤษฎี
นักวิเคราะห์ นักปฏิบัติ และนักกิจกรรม ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมและเอื้อต่อผู้เรียนทั้ง
4 แบบอย่างเสมอภาคกัน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด
รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ
ที่ตนเองไม่ถนัดด้วยวิธีการหลากหลายอีกด้วย โดยอาจเริ่มจากรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้ววางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียนรวมทั้งสร้างโอกาสให้เขาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2.
สมองกับการเรียนรู้
สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว
แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการพัฒนาของอวัยวะทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งจะรวมถึงการคิด
การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรจะมีความรู้เรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานและการพัฒนาของสมอง
เพื่อจะได้วางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะที่กระตุ้นให้สมองคิดและทำงานแบบท้าทาย
ยั่วยุมากที่สุด ผู้เรียนได้คิดและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ในทุกด้าน
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิดและเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
เป็นรากฐานไปสู่การเป็นคนดี
คนเก่งและมีความสุขในการดำรงชีวิตและเมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นเยาวชนพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป
แนวการจัดการเรียนการสอน
วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
1.
การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว
เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.
การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต
ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3.
การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน
เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี
ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม
ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
4.
การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี
จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
การฟังเพลงที่มีคุณภาพทำให้สมองผลิต Alpha Waves และ Theta
Waves ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเกิดความคิดสร้างสรรค์ชั้นสูง
5.
การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น
ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม
ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
6.
การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย
ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง
3.
การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด
ในการเรียนรู้ของบุคคลเรานั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีชีวิต
และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นการเรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
การที่จะทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ที่เก่ง ดี
และมีความสุขได้นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการด้วยกัน
แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน
เพราะหัวใจของการเรียนการสอนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งถ้าหากมีการจัดการเรียนการสอนที่ดี ย่อมก่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีได้
ลักษณะการเรียนการสอนที่ดี มีดังต่อไปนี้
1. ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. เน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. ต้องเป็นที่น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5. ต้องดำเนินไปด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยการปฏิบัติจริง
9. ต้องสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้
10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ต้องสามารถเข้าใจผู้เรียน
12. ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
13. ต้องไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14.
การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) คือ
มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา ทั้งในด้านการจัดกิจกรรม
การสร้างบรรยากาศ รูปแบบ เนื้อหาสาระ เทคนิควิธี ฯลฯ
15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
ดังนั้น
การเรียนรู้ของผู้เรียนจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้วางแผน การเรียนรู้ได้
คำนึงถึงลักษณะการเรียนรู้ที่ดี วิธีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
หลักการสอนที่มีประสิทธิภาพและลักษณะการเรียนการสอนที่ดี ดังที่นำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป
4.
รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล
ผู้เรียนในห้องเรียนหนึ่ง ๆ
มักจะมีผู้ถนัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของตน
ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกรูปแบบอย่างเสมอภาคกัน
เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานและเกิดความสุขในการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ตนถนัด
รวมทั้งยังมีโอกาสพัฒนาความสามารถด้านอื่น ๆ ที่ตนไม่ถนัดอีกด้วย
แนวการจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้มิใช่เกิดจากการสั่ง
การสอน การถ่ายทอดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มีการรับรู้ คือ การแสวงหาและรับข้อมูล
ข้อความรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ มีการบูรณาการความรู้ เป็นการนำข้อมูลข่าวสาร
ความรู้ใหม่ที่ได้รับมาผสมผสานเชื่อมโยงกับประสบการณ์ หรือโครงสร้างขอความรู้เดิม
เพื่อขยายหรือสร้างความรู้ใหม่ มีการประยุกต์ใช้ คือการนำความรู้มาใช้ในการดำรงชีวิต
หรือ การแก้ปัญหาในการทำงาน ดังนั้น
การจัดการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงและถาวรนั้น จะต้องจัดให้ครบ
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ การรับรู้ การบูรณาการความรู้
และการประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติจริงในวิถีชีวิต
5.
ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
ความสามารถพิเศษของมนุษย์
แบ่งออกเป็น 8
ด้านด้วยกัน มนุษย์ย่อมมีความ แตกต่างระหว่างบุคคล
แต่ละคนมักจะมีความเก่งไม่เหมือนกัน ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็น
ผู้วางแผนในการพัฒนาตนเอง โดยเริ่มจากรู้จักตนเอง รู้จุดเด่น จุดด้อย
ค้นหาวิธีการพัฒนาความเก่งให้แก่ตนเองที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย
แนวการจัดการเรียนการสอน
ครูผู้สอนจะต้องมีข้อมูล
และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความถนัด/ความสามารถหรือความเก่งให้เก่งมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งการพัฒนาด้านอื่น ๆ อีกให้มีความเก่งหลาย ๆ ด้าน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถหรือความเก่งสู่สาธารณชน
โดยอาจจัดเวทีให้แสดงอย่างอิสระ
6. สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้
สมองของคนเราแบ่งออกเป็น
2
ซีก คือซีกซ้ายกับซีกขวา สมองทั้งสองด้านมีความสัมพันธ์กัน
สมองมีหน้าที่ ควบคุมการรับรู้ การคิด การเรียนรู้และการจำ
ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และควบคุมความรู้สึกและพฤติกรรม
จะเห็นได้ว่า สมองไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อการพัฒนาของอวัยวะทั้งหมดในร่างกาย
ซึ่งรวมถึงความคิด การเรียนรู้ การจำ และพฤติกรรมของมนุษย์
แนวการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนที่ดี
ครูต้องมีความเข้าใจทักษะที่เกี่ยวโยงกับความสามารถพิเศษของสมองแต่ละซีก
สมองซีกซ้ายสั่งการทำงานเกี่ยวกับ คำ ภาษา ตรรก ตัวเลข/จำนวน ลำดับ ระบบ
การคิดวิเคราะห์ และการแสดงออกเป็นต้น สมองซีกขวาจะสั่งการเกี่ยวกับ จังหวะ ดนตรี
ศิลปะ จินตนาการ การสร้างภาพ การรับรู้ การเห็นภาพรวม ความจำ ความคิดสร้างสรรค์
เป็นต้น
7. การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สมองจะซึมซับข้อมูลที่บุคคลมีความสนในเรื่องนั้นอยู่แล้ว
เชื่อมโยงกับข้อมูล ความรู้ใหม่ ประสานข้อมูลความรู้เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่า
การเรียนรู้ของมนุษย์จะมี ประสิทธิภาพสูงขึ้น
เมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมของผู้เรียนกับการจัด
ประสบการณ์ในการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง
แนวการจัดการเรียนการสอน
ควรจัดเนื้อหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์
กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะหลากหลายร่วมกันในลักษณะ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
แหล่งการเรียนรู้หลากหลาย เช่น เรียนรู้จากสื่อธรรมชาติ
จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ จากแหล่งงานอาชีพของชุมชน จากการค้นคว้าทางเทคโนโลยี
ฯลฯ
8.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งในแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ
การเรียนรู้ของคนส่วนใหญ่มักเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ
สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ในสถานการณ์จริง เช่น
ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เผชิญอยู่โดยไม่ได้คิดในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก่อน
โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคลในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
แนวการจัดกิจกรรมการสอน
ในกระบวนการเรียนรู้นั้น
ขณะที่ผู้เรียนเรียนรู้นั้นอาจเป็นแค่การรับรู้ แต่ยังไม่เข้าใจ
ความเข้าใจอาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันถึงสิ่งต่าง
ๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
ซึ่งบางครั้งการสอนในชั้นเรียนเมื่อจบลงบางบทเรียนไม่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
เนื่องจากการสอนนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
9. การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากกระบวนการที่สร้างความเข้าใจ
และให้ความหมายกับสิ่งที่รับรู้มา มีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
สอน/แนะนำบนพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์และทักษะที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน
แนวการจัดการเรียนการสอน
บางครั้งการจำเป็นสิ่งสำคัญและมีประโยชน์
แต่การสอนที่เน้นการจำไม่ก่อให้เกิด
ความเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้และบางครั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจ
ถ้าครูไม่ได้ศึกษาลีลารูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละประเภท ว่ามีความชื่นชอบ
ความถนัด วิธีการเรียนรู้ หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
และจัดกิจกรรมการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละประเภท
จะส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
10. การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ภาษาแรกของมนุษย์เราถูกเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลาย
ด้วยคำศัพท์และไวยากรณ์
ถูกเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ภายในของบุคคลที่เกิดจากการมี
ปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวการจัดการเรียนการสอน
ครูจำเป็นต้องใช้กิจกรรมที่เป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน
ประกอบด้วย การสาธิต การทำโครงงาน ทัศนศึกษา การรับรู้ประสบการณ์ด้วยการมองเห็นของจริง
การเล่าเรื่อง ละคร และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนหลาย ๆ ประเภท
การเรียนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาสามารถเรียนรู้ได้ในกระบวนการโดยผ่านเรื่องหรือการเขียน
ความสำเร็จ
ขึ้นอยู่กับการใช้ประสาทสัมผัสและให้ผู้เรียนพบประสบการณ์ที่ซับซ้อนและมีความเกี่ยวข้องกันในเนื้อหา
ครูไม่ควรเป็นเพียงผู้บรรยาย
แต่ควรเป็นผู้กำกับที่ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
11. การเรียนรู้คือการส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้
เซลล์สมองจะเกิดมีการเชื่อมต่ออย่างสูงสุด
เมื่อถูกกระตุ้นให้เผชิญกับสถานการณ์ ที่ท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
โดยผ่านกระบวนการเล่นอย่างสนุกสนาน และมีความสุข ปราศจากความเครียด
เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่บั่นทอนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
แนวการจัดการเรียนการสอน
ควรสร้างสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อ
การเรียนรู้ โดยผ่านการเล่นแบบท้าทาย การเสี่ยง ความสนุกสนาน
เป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้
การถูกทำโทษอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้
ครูจึงไม่ควรลงโทษผู้เรียน ในการเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์แวดล้อมที่กระตุ้นการเรียนรู้
12. สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน
มนุษย์ทุกคนมีระบบสมองที่เหมือนกัน
ถึงแม้ว่าทุกคนจะมีศักยภาพแตกต่างกันในด้าน ความรู้ความถนัดที่มีอยู่เดิม
ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละคน แต่เราสามารถเรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน
แนวการจัดการเรียนการสอน
ผู้เรียนมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา
ความสามารถความเก่งของมนุษย์ คือ ทฤษฎีพหุปัญญา ความเป็นคนเก่งคืออะไร
มีคำตอบมากมายหลายรูปแบบ แต่สรุปรวมได้ว่า คนเก่งคือผู้มีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะด้าน
หรือหลาย ๆ ด้าน ที่แสดงออกถึงความสามารถได้อย่างเป็นที่ประจักษ์
ในการพัฒนาความเก่งนั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการพัฒนาตนเอง
โดยเริ่มจากการรู้จักตนเอง รู้จุดเด่นจุดด้อย
ค้นหาวิธีพัฒนาความเก่งให้แก่ตนเองที่จะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีความสุขและเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ภายใต้การดูแล กระตุ้น ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวกของครู พ่อแม่
ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าความเก่งพัฒนาได้ถ้ารู้วิธีและทำถูกวิธี
การนำไปประยุกต์ใช้
วันนี้เพื่อนำเสนอในรูปแบบการสอนทั้งหมด
6 รูปแบบการสอนผมจะนำรูปแบบการสอนในแต่ละรูปแบบไปใช้กับการสอนกับเด็กเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสอนในรูปแบบต่างๆมีความแตกต่างกันแต่ทุกรูปแบบมุ่งเน้นที่พัฒนาผู้เรียน ความรู้ที่ได้รับจากเพื่อนและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผมจะนำไปใช้และพัฒนาให้เด็กได้รับความรู้และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการเรียนการสอน
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนได้ใช้เทคนิคในการสอน
ผู้สอนให้ข้อเสนอแนะต่างๆ
ในการนำเสนอรูปแบบการสอนของแต่ละกลุ่มข้อเสนอแนะของอาจารย์เป็นแนวทางในการพัฒนาการสอนของนักศึกษาเป็นอย่างมาก
เพราะข้อเสนอแนะจะเป็นครูให้กับตัวเราได้เรียนรู้และปรับปรุงตัวเราในการเป็นครูในภายภาคหน้าเป็นอย่างมาก
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการนำเสนอ
1. อาจารย์ให้นักศึกษาใช้ไมโครโฟนทุกครั้งในการบรรยาย
2. เพื่อนๆใช้มัลติมิเดียในการนำเสนองาน (Power
Point)
การประเมินในชั้นเรียน
การประเมินในชั้นเรียน
ประเมินตัวเอง
วันนี้เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีในการนำเสนอรูปแบบการสอน พหุปัญญา 8 ด้าน มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งการถูกระเบียบ มีความพร้อมในการเรียนตั้งใจฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ และทำการจดบันทึกข้อเสนอแนะของอาจารย์ในการให้ข้อเสนอแนะทุกกลุ่ม
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆแต่งกายเรียนร้อย มาเรียนตรงเวลา มีความพร้อมในการนำเสนอรูปแบบการสนอของแต่ละกลุ่ม เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะของเพื่อนทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์